การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • นาซีฮะห์ ลาเตะ นักศึกษาระดับปริญญาโท,หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • จรุณี เก้าเอี้ยน หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน, สำนักงานการศึกษา

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส 2) เปรียบเทียบการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส และ 3) ประมวลข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ และการทดสอบความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส ภาพรวม อยู่ในระดับมาก

2. ผลเปรียบเทียบการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส เพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ตำแหน่งและขนาดของสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน

3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารควรมีการประชุมด้านการบริหารและการจัดการเพื่อวางแผน​ในการใช้ทรัพยากร​ที่มีให้เกิดประสิทธิภาพ​มากที่สุด ด้านการบริหารการวางแผน คือผู้บริหารควรมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้เป็นสถานศึกษาที่มีความทันสมัยต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ด้านการบริหารด้านวิชาการ คือ ผู้บริหารควรมีการพัฒนากระบวนการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนที่สูงขึ้น ด้านการบริหารด้านงบประมาณ คือ ผู้บริหารควรมีการศึกษาวิเคราะห์การจัดและการพัฒนาการศึกษาในการจัดสรรงบประมาณของสถานศึกษาตามกรอบทิศทางของพื้นที่การศึกษาและความต้องการของสถานศึกษาและการบริหารด้านบุคคล คือ ผู้บริหารควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ

References

กัลยา อาทรกิจ และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ. วลัยลักษณ์วิจัย. ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561 (หน้า 1-7). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2555). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา: กลยุทธ์และแนวทางการ ปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ณัฐนิช ศรีลาคา. (2558). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ณัฐวุฒิ ภารพบ. (2553). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดภาคใต้. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยทักษิณ.

นวลจันทร์ จุนทนพ. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นิยม รัชตะวัฒน์วินัย. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์. หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ปรีชา โล่ห์ชัย. (2552). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (สําเนา)

พิสณุ ฟองศรี. (2552). วิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ภารดี อนันต์นาวี. (2553). หลักหารแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี, มิเกลกาไรซาบาล.

มุสลิม หะยีสามะ. (2555). ประสิทธิภาพบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในฝัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วรารักษ์ หนึ่งโชคชัย. (2558). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูใน สถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิราพร ดีบุญมี. (2556). ภาวะผู้เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมพงศ์ เกษมสิน. (2554). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สมยงค์ แก้วสุพรรณ. (2552). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลเพื่อ การประกันคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การ พัฒนาภูมิภาค. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สันติ บุญภิรมย์. (2557). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทริป เพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2554). หลักการบริหารและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

สุนทร วิไลลักษณ์. (2550). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม สามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สุวิมล ติรกานันท์. (2556). MER 2003 (MR 203) สถิติและการวิจัยทางการศึกษาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-04