ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ ของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา, การรับรู้ของผู้บริหารและครู, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานีบทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู 3) เปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารกับครู และ 4) ประมวลข้อเสนอแนะของประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี จำนวน 296 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 28 คน และครู จำนวน 268 คน สุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ โดยการคำนวณเกณฑ์สัดส่วนและจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าทีอิสระ ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี พบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน
2. ประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน
3. ผลเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารกับภาพรวม ด้านการบริหารงานบุคคล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของประสิทธิภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปัตตานี ในด้านการบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารควรมีการตื่นตัวตลอดเวลาในการบริหารงานวิชาการให้มีความยืดหยุ่น โดยการใช้เทคโนโลยีในการสอนให้ทันกับทุกสถานการณ์และอย่างเป็นระบบ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ควรมีแผนการปฏิบัติงานประจำปี โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์เป็นหลัก มีความโปร่งใส ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าแก่ตัวผู้เรียนให้มากที่สุด ด้านการบริหารงานบุคคล การสร้างความตระหนักและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับงานบุคคลโดยการพัฒนาบุคคลากรในองค์อยู่สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง และด้านการบริหารงานทั่วไป การพัฒนาด้านการสร้างเครือข่ายชุมชน และระดมภาคีเครือข่าย การต้องดูแลทั้งระบบ
References
กันตพัฒน์ มณฑา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(2).
ณัฐสรัลพร อดิศิริอิทธิกร. (2563). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชศรีมา.
เดช ดอนจันทร์โคตร. (2560). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2556). รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่องรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ์ และคณะ (2559). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ลิษา สมัครพันธ์. (2562). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วรพงษ์ เถาว์ชาลี (2557). ประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาที่สัมพันธ์กับการเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรพันธ์ เพชรางกูร. (2563). ปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรรณา แช่มพุทรา. (2559). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วราภรณ์ ธนากุลจีรวัฒน์. (2560). ประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วาราดา ณ ลานคา. (2560). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ศศิวิมล คนเสงี่ยม. (2560). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
อาชีชะห์ ยีหะมะ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายธารามิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
เอกลักษณ์ ขาวนวล. (2561). การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 4. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper & Row. pp. 202-204.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการบริหารการศึกษาและครุศาสตร์ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย