About the Journal

วัตถุประสงค์ของวารสาร

              วารสารพัฒนาทักษะวิชาการอย่างยั่งยืน (JASD) โดยมี ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาทักษะทางวิชาการอย่างยั่งยืน (ASDLC) เป็นผู้กำกับดูแล วารสารพัฒนาทักษะวิชาการอย่างยั่งยืน (JASD) เป็นวารสารวิชาการ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์ นิสิต นักวิจัย และนักวิชาการทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการ องค์ความรู้ ในศาสตร์สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ขอบเขตการตีพิมพ์ (Focus and Scope)

               ขอบเขตเนื้อหาของบทความที่เผยแพร่ลงในวารสารพัฒนาทักษะวิชาการอย่างยั่งยืน (JASD) ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับศาสตร์ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในสาขาวิชาต่าง ๆ อาทิ หลักสูตรและการสอน การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา ศาสนา ปรัชญา กฎหมาย รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ ภาษาศาสตร์และวรรณคดี บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ วิทยาการจัดการ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ

นโยบายด้านลิขสิทธิ์

            ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆ ในวารสารพัฒนาทักษะวิชาการอย่างยั่งยืน (JASD) ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของวารสารพัฒนาทักษะวิชาการอย่างยั่งยืน (JASD) บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารพัฒนาทักษะวิชาการอย่างยั่งยืน (JASD) ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของวารสารพัฒนาทักษะวิชาการอย่างยั่งยืน (JASD) หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากบรรณาธิการวารสารพัฒนาทักษะวิชาการอย่างยั่งยืน (JASD) ก่อนเท่านั้น

ประเภทผลงานที่ตีพิมพ์

  1. บทความวิชาการ (Academic Article)
  2. บทความวิจัยหรือบทความวิทยานิพนธ์ (Research article)
  3. บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)

จริยธรรมในการตีพิมพ์

        บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียน (Duties of Authors)

  1. ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
  2. ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  3. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นหากมีการนำผลงานผู้อื่นมาใช้ในการเขียนผลงานของตนเองรวมทั้งจัดทำรายการบรรณานุกรม/อ้างอิงท้ายบทความ
  4. ผู้เขียนต้องเขียน และปรับบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ใน “หลักเกณฑ์การส่งบทความเพื่อเผยแพร่ วารสารพัฒนาทักษะทางวิชาการอย่างยั่งยืน (JASD)”
  5. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการจัดทำบทความจริง
  6. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้
  7. ผู้เขียนต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)

       บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

  1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดขอบ
  2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  3. บรรณาธิการต้องตัดสินใจคัดเลือกบทความมาตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินแล้วโดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องกับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
  4. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
  5. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมิน และทีมบริหาร
  6. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนหลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ

       บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

  1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  2. หลักจากได้รับบทความจากบรรณาธิการวารสาร และผู้ประเมินบทความตะหนักว่า ตนเองมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น รู้จักกับผู้เขียนเป็นการส่วนตัว เป็นผู้ร่วมวิจัย หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
  3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ และไม่ควรแสดงความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
  4. ผู้ประเมินบทความควรระบุผลงานวิจัยที่สำคัญ ๆ และสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมิน แต่ผู้เขียนไม่ได้อ้างถึง เข้าไปในบทความด้วย ทั้งนี้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความมีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ๆ แต่ไม่มีการอ้างอิง ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย

Peer Review Process

       บทความวิชาการและบทความวิจัยที่จะตีพิมพ์ ต้องเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ใดมาก่อนและ/หรือ ไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น แต่ละบทความจะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน ต่อ 1 บทความ (Double blind peer review) และต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ โดยกองบรรณาธิการมีสิทธิ์ให้แก้ไขบทความตามความเหมาะสม

กำหนดการพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ

      ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน

      ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 

      ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 

อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

       ปี 2562 - ปี 2564 ไม่เสียค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ (ช่วงพัฒนาวารสาร)