การพัฒนารูปแบบส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียนที่ครอบคลุมความฉลาดทางอารมณ์ และจริยธรรม
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน 6 ด้านได้แก่ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการใช้ภาษาและความเข้าใจ ด้านการช่วยเหลือตนเองและการเข้าสังคม ด้านความฉลาดทางอารมณ์และด้านความฉลาดทางจริยธรรม 2) เปรียบเทียบพัฒนาการทั้ง 6 ด้าน ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นเด็กอายุ อายุ 2.5 - 4 ปีจานวน 120 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 60 คน เป็นเด็กที่ได้รับการดูแลที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยก่อนเรียนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง กลุ่มควบคุม 60 คน เป็นเด็กที่ได้รับการดูแลที่ศูนย์เด็กเล็กคลองน้าเจ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการใช้ภาษาและความเข้าใจ ด้านการช่วยเหลือตนเองและการเข้าสังคม ด้านความฉลาดทางจริยธรรม ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและทดสอบความเชื่อมั่น ( r = 0.82) สาหรับแบบสอบถามด้านความฉลาดทางอารมณ์ ผู้วิจัยใช้ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูล หาค่า จานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. พัฒนาการของเด็ก 2.5 - 4 ปี ทั้ง 6 ด้านของกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองสูงขึ้นทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการใช้ภาษาและความเข้าใจ ด้านการช่วยเหลือตนเองและการเข้าสังคม ด้านความฉลาดทางอารมณ์ ด้านความฉลาดทางจริยธรรม
2. พัฒนาการของเด็ก 2.5 - 4 ปีระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกัน 5 ด้านทุกข้อคาถาม ได้แก่ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการใช้ภาษาและความเข้าใจ ด้านการช่วยเหลือตนเองและการเข้าสังคม ด้านความฉลาดทางจริยธรรม มีเพียงด้านความฉลาดทางอารมณ์ที่มี 1ข้อคาถามที่ไม่แตกต่างกันคือ การเก็บตัว หรือเล่นสนุกสนานกับเพื่อนหรือเด็กคนอื่น ๆ