มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว: ศึกษากรณีการรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม
Main Article Content
Abstract
เว็บไซต์เครือข่ายสังคมเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยผู้ใช้สามารถสร้างแฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอาจมีลักษณะสาธารณะหรือกึ่งสาธารณะ โดยผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนและเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวของผู้ใช้อื่นๆในระบบเครือข่ายสังคมนั้น เว็บไซต์เครือข่ายสังคม เช่น Facebook, Myspace มีความแตกต่างกันในแง่ของวัตถุประสงค์ การใช้งาน รวมทั้งรูปแบบและลักษณะ บางเว็บไซต์มุ่งประสงค์ใช้เพื่อทางธุรกิจหรือทางวิชาชีพ ในขณะที่บางเว็บไซต์มุ่งประสงค์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคมและความบันเทิง บางเว็บไซต์เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ในขณะที่บางเว็บไซต์มุ่งประสงค์แลกเปลี่ยนข้อมูลในลักษณะสื่อผสม งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าเว็บไซต์เครือข่ายสังคมก่อให้เกิดปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการล่วงรู้เรื่องราวส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยเจ้าของข้อมูลมิได้รับรู้และยินยอม การคุกคามทางเพศ การติดต่อผู้อื่นโดยมิได้เชื้อเชิญ เป็นต้น
งานวิจัยนี้พบว่าในต่างประเทศมีมาตรการทางกฎหมายเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวที่เกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้พบว่าในระบบกฎหมายไทยปัจจุบัน นั้นแม้ว่า มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องอันอาจนามาปรับใช้เพื่อการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกรบกวนจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม เช่น ประมวลกฎหมายอาญา, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากฎหมายดังกล่าวยังมีปัญหาในเชิงเนื้อหา องค์ประกอบ และขอบเขตหลายประการที่ทาให้ไม่สามารถปรับใช้เพื่อการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวที่ถูกรบกวนจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมได้อย่างเหมาะสม ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นหลายประการ ทั้งการบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เดิม เพื่อให้กฎหมายมีความเหมาะสมกับการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลดังกล่าวต่อไป