ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนต่อความรู้ และพฤติกรรมการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

Main Article Content

คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนต่อความรู้ และพฤติกรรมการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะกระดูกสะโพกหัก และเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเป็นครั้งแรก ณ โรงพยาบาลชัยภูมิ จานวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิด ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ โดยดาเนินการวิจัยเป็นรายบุคคล ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัย ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 และแบบสัมภาษณ์การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในระยะก่อนการทดลอง และหลังการทดลองโดยใช้สถิติ Dependent t - test และระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Independent t -test ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม หลังการทดลองในกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนาไปเป็นแนวทางสาหรับการปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมตลอดจนเป็นแนวทางสาหรับการวิจัยทางการพยาบาล การบริหารการพยาบาล และการจัดการศึกษาพยาบาลต่อไป

Article Details

Section
Research Article