แนวทางการจัดโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดที่เป็นปัจจุบัน

Main Article Content

เสาวณีย์ วรวุฒางกูร

Abstract

          โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จัดเป็นปัญหาหลักในด้านการสาธารณสุข ซึ่งพบว่าความชุกของการเกิดโรคและอัตราการเสียชีวิตของโรคมีจานวนเพิ่มขึ้นในทั่วโลก มีการคาดการณ์ว่าผู้ป่วยโรคนี้จะเพิ่มจานวนขึ้นในทศวรรษข้างหน้า โดยในปี 2020 จะเป็นโรคอันดับที่ 5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อทั่วโลกรวมทั้งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรโลกเป็นอันดับที่ 3 ดังนั้น การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ถือเป็นบทบาทสาคัญหนึ่งในการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
          การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (pulmonary rehabilitation) เป็นการให้วิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยหลักข้อมูลพื้นฐานทางวิชาการที่มีความหลากหลายรูปแบบด้วยความเข้าใจสาหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ยังคงมีอาการและมีการทากิจวัตรประจาวันลดลง โดยจะเป็นรูปแบบแนวผสมผสานและมีความเฉพาะสาหรับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดนั้นจะเน้นการจัดการเพื่อลดอาการ เพิ่มความสามารถในการทางานของร่างกายให้ได้ระดับสูงสุดเท่าที่จะทาได้ เพิ่มการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาตนเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพด้วยการคงสภาพหรือฟื้นคืนสภาพของลักษณะที่ปรากฏจากโรคในระบบต่างๆ ของร่างกาย
          ในปัจจุบัน การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด จัดเป็นมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ยังคงมีอาการแม้ได้รับการรักษาด้วยยาขยายหลอดลมแล้ว อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีความหลากหลายของรูปแบบ การจัดการ และยังมีข้อสงสัยในโปรแกรมการฟื้นฟูในด้านองค์ประกอบของโปรแกรม ระยะเวลาฟื้นฟูที่เหมาะสม กลุ่มผู้เข้าร่วมการฟื้นฟูตลอดจนเวลาที่เหมาะสม ดังนั้น บทความฉบับนี้ จะนาเสนอองค์ประกอบหลักที่จาเป็นของการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด คือ การคัดเลือกและประเมินผู้ป่วย การฝึกออกกาลังกาย ความรู้เพื่อการจัดการตนเอง และการสนับสนุนด้านจิตสังคม โดยอธิบายขั้นตอนต่างๆ นี้ด้วยแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจากข้อมูลทางวิชาการของสถาบันต่างๆ และมุ่งเน้นบทบาทหลักของนักกายภาพบาบัดในการให้คาแนะนาและกาหนดโปรแกรมการฝึกออกกาลังกายสาหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด

Article Details

Section
Academic Article