ภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนต่อประสิทธิผลโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

Main Article Content

อารยา ปานุราช

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อ 1)ศึกษาประสิทธิผลของภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน 2)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำผู้บริหารภาครัฐและเอกชน และ ปัจจัยการทำงานในรูปแบบภาคีความร่วมมือระหว่างระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีต่อประสิทธิผลของภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน 3)ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนและ 4)เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลต่อโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลกลุ่มตัวอย่างทำการศึกษาจากผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จำนวน 400 คน จากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้ความน่าจะเป็น (Probability Sampling) และการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากพนักงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน) จำนวน 106 คนและ การเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารระดับสูงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ ผู้เชี่ยวชาญโครงการภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนรวม 9คน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประสิทธิผลด้านความพึงพอใจของผู้ช้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคลในภาพรวมด้านการได้รับบริการอย่างเสมอภาคการได้รับบริการอย่างต่อเนื่องการได้รับบริการอย่างปลอดภัยการสนองตอบต่อความต้องการหรือข้อเรียกร้องมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของผู้ให้บริการการได้รับบริการตรงเวลาการได้รับบริการอย่างเพียงพอและ การได้รับบริการอย่างก้าวหน้าพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้านสำหรับประสิทธิผลด้านความพึงพอใจของภาครัฐในการกำกับดูแลการดำเนินงานภาคเอกชนให้เป็นไปตามสัญญาในภาพรวมด้านความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การมุ่งเน้นฉันทามติ ภาระรับผิดชอบ การตอบสนอง และ ความสามารถของภาคเอกชนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง

  2. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยภาวะผู้นำผู้บริหารภาครัฐและเอกชน และ ปัจจัยการทำงานในรูปแบบภาคีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ได้แก่ การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การ การประสานงานระหว่างองค์การ ความไว้ใจระหว่างองค์การ ความร่วมมือระหว่างองค์การ และ เป้าหมายร่วมกันระหว่างองค์การ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ตัวแปรปัจจัย ภาวะผู้นำผู้บริหารภาครัฐและเอกชน และ ปัจจัยย่อยด้านความร่วมมือระหว่างองค์การ ร่วมกันอธิบายประสิทธิผลโครงการฯได้ร้อยละ 61.6 โดยปัจจัยภาวะผู้นำผู้บริหารภาครัฐและเอกชนและปัจจัยย่อยความร่วมมือระหว่างองค์กรส่งผลทางบวกต่อประสิทธิผลโครงการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งตัวแปรปัจจัยภาวะผู้นำผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ส่งผลต่อประสิทธิผลโครงการฯมากที่สุด (β= .639) รองลงมาคือปัจจัยย่อยด้านความร่วมมือระหว่างองค์การ (β= .240)

Article Details

Section
Research Article