การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง สำหรับครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สิรินธร สินจินดาวงศ์

Abstract

          การประเมินผลการเรียนรู้ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังเป็นปัญหาสำหรับครูในโรงเรียน เนื่องจากยังจำเป็นต้องการความรู้ทักษะในการพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ คระกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาการศึกษาจึงพิจารณาเห็นสมควรให้มีการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ของแผนวิจัยคือ เพื่อออกแบบพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาครู ชุดฝึกอบรมพัฒนาครูการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงในโรงเรียนในสถานศึกาาขั้นพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยเพื่อ (1) เสริมสร้างความรู้ ทักษะในการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง ให้แก่ครูในสถานศึกาาขั้นพื้นฐาน (2) ประเมินผลด้านการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงของครู (3) เผยแพร่องค์ความรู้ ด้านการพัฒนาการวัดผลและประเมินผลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการวิจัยครั้งนี้มีระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการวิจัยมี 2 วิธี คือ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) โดยใช้สารสนเทศที่ได้จาก ก) การวิจัยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและต่างประเทสจำนวนมากกว่า 50 เล่ม และ ข) ผลจากการฝึกอบรมพัฒนาด้านการประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูง จากโรงเรียนนำร่อง 11 โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนผลการวิจัย พบว่า ในประเด็น 1) การออกแบบพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาครู การประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงสำหรับครู พบว่า ครูมีความต้องการให้จัดการฝึกอบรมพัฒนาด้านการประเมินผลการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน โดยมีการจัดการฝึกอบรมพัฒนาครู ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ระดับสูง รวม 4 ครั้ง เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง2) ผลจากการฝึกอบรมพัฒนาครูโรงเรียนสามารถพัฒนาเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนตามแนวทาง CATs (Classroom Assessment Techniques)โดยสามารถพัฒนาการเรียนรู้ ระดับสูงได้หลังจากที่มีการนิเทศ ติดตาม พบว่า ครูสามารถนำเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ระดับสูงไปใช้ในชั้นเรียน และนักเรียนเกิดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรและมีทักษะในการคิดเพิ่มขึ้น 3) ผลผัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนมีทักษะการคิดในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ได้มีการขยายเครือข่ายการอบรมให้ความรู้แก่ครู ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นนอกเหนือจากกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก 5 กลุ่ม และเพิ่มเติมครูสังกัดกรุงเทพมหานคร

Article Details

Section
Research Article