มูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

วิสาลักษณ์ สิทธิ์ขุนทด

Abstract

          การวิจัยเรื่องมูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เปรียบเทียบมูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ3) หาความสัมพันธ์ของมูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนกับความคาดหวังที่มีต่อมหาวิทยาลัย ตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ 6 และนักเรียนระดับอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 209 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเอกชน มีทั้งหมด 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลทั่วไปของนักเรียน ตอนที่ 2 การตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนและตอนที่ 3 สอบถามความคาดหวังต่อมหาวิทยาลัย สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเอกชนพบว่า นักเรียนในสังกัดมัธยมศึกษาจะมีความต้องการศึกษาต่อในสาขา นิเทศศาสตร์/สื่อสารมวลชนมากที่สุด จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 18.92 รองลงมาคือ สาขาบริหารธุรกิจ จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 15.32 ในขณะที่นักเรียนสังกัดอาชีวศึกษามีต้องการเรียนใน 2 สาขาหลัก คือ บริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 31 คน และ 14 คน คิดเป็นร้อยละ 45.59 และ 20.59 ตามลำดับ 2) มูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยเอกชน ตามลำดับ 1. มหาวิทยาลัยอยู่ใกล้บ้านเดินทางสะดวก 2.มหาวิทยาลัยมีสาขาที่ต้องการเรียน/สนใจ 3.ค่าเทอมอยู่ในระดับสามารถจ่ายได้ 4. ขั้นตอนสมัครเรียนไม่ยุ่งยาก และ 5. มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ศูนย์กีฬา สถานพยาบาล 3)ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของมูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนกับความคาดหวังที่มีต่อมหาวิทยาลัย พบว่า ตัวแปรมูลเหตุจูงใจในการตัดสินใจเลือกเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังที่มีมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ พ่อแม่ต้องการให้เรียนมหาวิทยาลัยนี้ และมีบริการคอมพิวเตอร์ทันสมัยและมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

Article Details

Section
Research Article