การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Main Article Content

อรุณ พรหมจรรย์

Abstract

          การวิจัย การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และประเมินความสอดคล้องของรูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กำหนดสถานการณ์จำลองความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ ซึ่งดำเนินการวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed-methods) ข้อมูลได้จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจาการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 225 เขต ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 2,056  คน ผู้บริหารสถานศึกษา รวมจำนวน 30,000 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้ตัวอย่าง จำนวน 4,320 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่าและแบบสัมภาษณ์ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับแรกและอันดับสอง
          ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและรายองค์ประกอบหลักอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบหลักจากสูงไปหาต่ำ คือ การประสานทิศทาง (Leading) สร้างสัมฤทธิผล (Performing) และเริ่มต้นบริการ (Serving) เมื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่า ไค-สแควร์ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว มีค่าเท่ากับ 18.56, df =  14 และ p เท่ากับ .18 ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนีวัดระดับความเหมาะสมพอดี GFI = 1.00 และค่าดัชนีรากที่สองของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า RMSEA 0.01 แสดงว่า โมเดลมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกค่า จึงสรุปได้ว่า โมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีความเหมาะสม

Article Details

Section
Research Article