การศึกษาพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยการใช้เทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่มของ Warner
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่มของ Warner ในการประมาณค่าสัดส่วนพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการของนักศึกษามหาวิทยาลัย ใน 4 ด้านหลัก คือ ด้านทุจริตการสอบ ด้านการลอกแบบฝึกหัด ด้านความไม่ซื่อสัตย์ในการจัดทำรายงาน และด้านการสร้างข้อมูลเท็จ รวมทั้งเปรียบเทียบพฤติกรรมดังกล่าวระหว่างนักศึกษาจำแนกตามเพศ ชั้นปีที่เรียน กลุ่มวิชาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตัวอย่างวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 244 คน เป็นชาย 103 คน หญิง 141 คน จากกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี 64 คน และกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ 180 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามกึ่งสัมภาษณ์จำนวน 18 ข้อ โดยใช้เครื่องมือตารางสุ่มก่อนตอบคำถามแต่ละข้อว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ตามเทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่มของ Warner
ผลการศึกษาพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการใน 4 ด้านหลัก พบว่า นักศึกษาเคยมีพฤติกรรมด้านการลอกแบบฝึกหัดมากที่สุด ร้อยละ 64.80 ด้านการสร้างข้อมูลเท็จร้อยละ 46.59 ด้านทุจริตการสอบ ร้อยละ 33.17 และด้านความไม่ซื่อสัตย์ในการจัดทำรายงาน ร้อยละ 28.15
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างเพศ ชั้นปี กลุ่มวิชาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นรายข้อ พบว่า
1. นักศึกษาชายเคยมีพฤติกรรมลอกแบบฝึกหัดเพื่อนมากที่สุด ในขณะที่นักศึกษาหญิงเคยให้เพื่อนลอกแบบฝึกหัดมากที่สุด ร้อยละ 77.31 และ 84.73 ตามลำดับ
2. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เคยมีพฤติกรรมการนำรายงานของผู้อื่นมาส่งเป็นของตนในสัดส่วนที่สูงกว่านักศึกษาชั้นปีอื่นๆ ในขณะที่พบว่า พฤติกรรมดังกล่าวนี้เกิดขึ้นน้อยกว่าพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการรูปแบบอื่นๆในกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่น้อยกว่า
3. นักศึกษากลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีเคยให้ผู้อื่นทำแบบฝึกหัดแทน และสร้างข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ค้นคว้ารวบรวมได้ในสัดส่วนที่สูงกว่านักศึกษากลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างเด่นชัด โดยนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มวิชาต่างเคยมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางส่วนให้เป็นไปตามที่ต้องการในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน 4. นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับสูงเคยมีพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการด้านการจัดทำรายงาน และการสร้างข้อมูลเท็จในสัดส่วนที่สูงกว่านักศึกษากลุ่มอื่นๆ
ผลการศึกษาพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการใน 4 ด้านหลัก พบว่า นักศึกษาเคยมีพฤติกรรมด้านการลอกแบบฝึกหัดมากที่สุด ร้อยละ 64.80 ด้านการสร้างข้อมูลเท็จร้อยละ 46.59 ด้านทุจริตการสอบ ร้อยละ 33.17 และด้านความไม่ซื่อสัตย์ในการจัดทำรายงาน ร้อยละ 28.15
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างเพศ ชั้นปี กลุ่มวิชาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นรายข้อ พบว่า
1. นักศึกษาชายเคยมีพฤติกรรมลอกแบบฝึกหัดเพื่อนมากที่สุด ในขณะที่นักศึกษาหญิงเคยให้เพื่อนลอกแบบฝึกหัดมากที่สุด ร้อยละ 77.31 และ 84.73 ตามลำดับ
2. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เคยมีพฤติกรรมการนำรายงานของผู้อื่นมาส่งเป็นของตนในสัดส่วนที่สูงกว่านักศึกษาชั้นปีอื่นๆ ในขณะที่พบว่า พฤติกรรมดังกล่าวนี้เกิดขึ้นน้อยกว่าพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการรูปแบบอื่นๆในกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่น้อยกว่า
3. นักศึกษากลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีเคยให้ผู้อื่นทำแบบฝึกหัดแทน และสร้างข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ค้นคว้ารวบรวมได้ในสัดส่วนที่สูงกว่านักศึกษากลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อย่างเด่นชัด โดยนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มวิชาต่างเคยมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางส่วนให้เป็นไปตามที่ต้องการในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน 4. นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับสูงเคยมีพฤติกรรมไม่ซื่อสัตย์ทางวิชาการด้านการจัดทำรายงาน และการสร้างข้อมูลเท็จในสัดส่วนที่สูงกว่านักศึกษากลุ่มอื่นๆ
Article Details
Issue
Section
Research Article