ปัจจัยการเลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ที่มีต่อฐานะการเงินและผลตอบแทนของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)

Main Article Content

กัญญาพัชญ์ อรุณรัตน์

Abstract

    การศึกษาเรื่อง ปัจจัยการเลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ที่มีต่อฐานะการเงินและผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาปัจจัยที่มีต่อการเลือกนโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ วิธีเข้าก่อนออกก่อนและวิธีถัวเฉลี่ย  2.เปรียบเทียบผลกระทบจากการเลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ  3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฐานะการเงินกับผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินตั้งแต่ปี 2552-2556 ในการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยการเลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ใช้สถิติ Chi-square Test และในการเปรียบเทียบผลกระทบจากการเลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ใช้สถิติ t-Test และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฐานะการเงินกับผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)ใช้สถิติ MultipleRegressionAnalyzeโดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05  

      จากการศึกษา ปัจจัยการเลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ พบว่า ประเภทอุตสาหกรรม และขนาดของกิจการเป็นปัจจัยที่มีอิทธิต่อการเลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ สำหรับในด้านผลกระทบจากการเลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ วิธีเข้าก่อนออกก่อนและวิธีถัวเฉลี่ย  มีผลกระทบต่อฐานะการเงิน และผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฐานะการเงินกับผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)  พบว่า กลุ่มบริษัทที่เลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือวิธีเข้าก่อนออกก่อน  อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน และอัตราส่วนกำไรขั้นต้น มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ส่วนฐานะการเงินบริษัทที่เลือกใช้นโยบายการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือวิธีถัวเฉลี่ย พบว่า อัตราส่วนกำไรขั้นต้นมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)

Article Details

Section
Research Article