โอกาสของความสำเร็จทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาของครัวเรือนไทยในชนบท

Main Article Content

ธิติมา พลับพลึง

Abstract

          การวิเคราะห์โอกาสของความสำเร็จทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ วิเคราะห์ตามแบบจำลองโลจิสติคพหุกลุ่ม (Multinomial Logistic Model) พบว่า เกิดความเหลื่อมล้ำของความสำเร็จทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาระหว่างครัวเรือนเมืองกับชนบท กล่าวคือ ครัวเรือนชนบทมีสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา(ร้อยละ 71) สูงกว่าครัวเรือนเมือง (ร้อยละ 51) และมีสัดส่วนผู้สำเร็จระดับอุดมศึกษาหลักสูตร 4 ปี (ร้อยละ19) ต่ำกว่าครัวเรือนเมืองครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 39) นอกจากนี้รายได้และสินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนยังทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของโอกาสของความสำเร็จทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลักสูตร 4 ปี มากกว่าหลักสูตร 2 ปี อีกทั้งระดับการศึกษาหัวหน้าครัวเรือนและสินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนชนบทมีผลกระทบทางตรงและผลกระทบร่วมกันต่อโอกาสของความสำเร็จอุดมศึกษาหลักสูตร 2 ปี และอุดมศึกษาหลักสูตร 4 ปี ดังนั้นรัฐควรสนับสนุนทุนแบบให้เปล่าเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวและทุนให้กู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพแก่ครัวเรือนยากจนในชนบท

Article Details

Section
Research Article