ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครมีสภาพรอพินิจ

Main Article Content

อำนาจ วังจีน

Abstract

          การศึกษาเรื่อง“ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครมีสภาพรอพินิจ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา  ลักษณะทางประชากรศาสตร์  ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีสภาพรอพินิจตลอดจนแนวทางในการจัดการหรือวางแผนลดจำนวนนักศึกษาที่มีสภาพรอพินิจ  ประชากรในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,100  ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ การทดสอบไคว์-สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง

          ผลการวิจัยพบว่าระดับการศึกษาสูงสุดของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ทางสถิติกับสภาพของนักศึกษา นักศึกษารอพินิจ มีปัญหาเรื่องการปรับตัวในการเรียนระบบมหาวิทยาลัย  ความรู้ความสามารถในวิชาพื้นฐานก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี  วินัยในการเรียน ติดเกมส์ ติดสังคมออนไลน์ การมีส่วนร่วมในสังคมมหาวิทยาลัย  การเรียนในวิชาพื้นฐานหลักสูตร  และเรียนในหลักสูตรที่ไม่ตรงกับความสามารถของตนเอง  ปัจจัยเหตุที่เป็นผลของปัจจัยทั้ง 8 ปัจจัยมีอิทธิพลต่อสภาพนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอิทธิพลเท่ากับ  .28  และสามารถอธิบายได้ร้อยละ 8.0  โดยเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาเอก และเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาพื้นฐานมีอิทธิพลต่อสภาพนักศึกษาเท่ากับ   .45  และ .51  ตามลำดับ  ปัจจัยทั้ง 8 ได้แก่  1)ความรู้พื้นฐานทางวิชาการก่อนเข้าศึกษา   2)สภาพแวดล้อมทางสังคมภายในมหาวิทยาลัย    3)สภาพแวดล้อมทางสังคมภายนอกมหาวิทยาลัย   4)เศรษฐกิจของครอบครัว 5)สภาพทางสังคมของครอบครัว    6)แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์    7) หลักสูตรและ8) การจัดการเรียนการสอนมีอิทธิพลต่อปัจจัยเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ปัจจัยสาเหตุที่มีค่าสัมประสิทธิ์สูงที่สุดได้แก่  สภาพแวดล้อมทางสังคมภายในมหาวิทยาลัย มีค่าเท่ากับ .34 รองลงมาเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมภายนอก มีค่าเท่ากับ .32    สภาพทางสังคมของครอบครัวมีค่าเท่ากับ .29  ส่วนตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์น้อยที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน มีค่าเท่ากับ .008  

          แนวทางในการจัดการหรือวางแผนลดจำนวนนักศึกษาที่มีสภาพรอพินิจ ได้แก่  1)การจัดกิจกรรมเสริมทางวิชาการ   2)การส่งเสริมให้ผู้สอนนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน  3)การพัฒนาผู้สอนให้มีความรู้ความสามารถในการสอนมากขึ้น   4)การปรับปรุงระบบการวัดผลประเมินผลให้มีความยืดหยุ่นและมีความหลากหลายมากขึ้น   5)มีการจัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษาดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด   6)การส่งเสริมให้อาจารย์มีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 

Article Details

Section
Research Article