การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Main Article Content

สุวิมล โพธิ์กลิ่น
ธันร์ญพรน์ ไชยพรรค

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี และเสนอแนะแนวทางใน การปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และ ศรีสะเกษ จำแนกเป็น ผู้บริหาร 333 คน และครู 333 คน รวมทั้งสิ้น 666 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) และกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัย สร้างขึ้นเองเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 104 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .96 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า

1.1 ด้านคุณลักษณะภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ คุณลักษณะต่อวิชาชีพ และ คุณลักษณะต่อผู้รับบริการ ตามลำดับ

1.2 ด้านความรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร และการบริหารกิจการนักเรียน ตามลำดับ

1.3 ด้านความสามารถภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ คุณธรรมและจริยธรรม สำหรับผู้บริหารและการบริหารกิจการนักเรียน ตามลำดับ

2. ข้อเสนอแนะและแนวทางในการ ปรับปรุงหลักสูตร คือ

2.1 ด้านคุณลักษณะ ควรมุ่งเน้น ให้นักศึกษารู้หน้าที่ รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ฝึกและพัฒนาตนเองในด้านบุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ ประสานงานจิตสาธารณะหรือจิตอาสา ให้เกียรติผู้อื่น และเปิด โอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม

2.2 ด้านความรู้ ควรมุ่งเน้นให้นักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารแผน งาน/โครงการสู่การปฏิบัติ การประกันคุณภาพการศึกษา การทำ Action plan ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะและวิธีการสร้างความสัมพันธ์ กับชุมชน และการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างด้าน คุณธรรมจริยธรรม

2.3 ด้านความสามารถ ควรปรับปรุงหลัก สูตรเพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในด้านการ บริหารแบบมีส่วนร่วม การประกันคุณภาพการ ศึกษา การกำหนดมาตรฐานสถานศึกษาการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติ การที่สอดคล้องกับมาตรฐาน การจัดโครงสร้างการบริหารและสารสนเทศ การบริหารแผนงาน/ โครงการสู่การปฏิบัติ การสร้างเครือข่ายการ พัฒนา/การจัดการความรู้ การพัฒนาบุคลิกภาพ ในการสร้างความสัมพันธ์ กับชุมชน การจัดระบบ การให้บริการ และการดำเนินการทางวินัย

 

The Studying of Desirable Qualification of the Graduate Student in Educational Administration Program at Ubon ratchathani Rajabhat University

The purpose of this research was to study desirable qualification of the graduate student in Educational Administration program at Ubon Ratchathani Rajabhat University The sample consisted of 333 school administrators and 333 teachers. The research instrments was a questionnaire. The data were analyzed by mean and standard deviation.

The finding of this research were as follows.

1. Desirable qualification of the graduate student in Educational Administration Program at Ubon Ratchathani Rajabhat University were in the high level. They were in the highest level for characteristic / the high level for knowledge and ability.

2. The significant way to develop the curriculum were as the following

2.1 Characteristic issue : should to know function /highest usage in time / practice and develop self in : personality, human relations, to connect public mind / and community to cooperate.

2.2 Knowledge issue : should have a better understanding about the management plan / project execution to quality assurance / action plan doing / technology skills uses / how to build relationship with the community and being the model of moral conduct.

2.3 Ability issue : should have the ability to participatory management / to set school standardize / to make plans that comply with the standard / to set the administrative structure and information / management plans and projects into practice / creating a development network / knowledge management /develop personality for the relationship with the community/ to set the service system and disciplinary action.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)