ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Main Article Content

ฉัตรแก้ว เภาวิเศษ
วรรณวิภา จัตุชัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความ สัมพันธ์พหุคูณของตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรภาษา อังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และเพื่อหา น้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยที่ส่งผล ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษา ในระดับปริญญาตรี หลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต ปีการศึกษา 2555 จำนวน 401 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 250 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัย ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ การหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์อย่างง่าย โดยใช้สูตรสหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน (Pearson Product – Moment Correlation Coefficient) การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้สูตร t-test การทดสอบนัยสำคัญของสหสัมพันธ์พหุคุณ โดยใช้สูตร F-test และการทดสอบความมีนัยสำคัญ ของค่าน้ำหนักความสำคัญ โดยใช้สูตร t-test

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. ปัจจัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของ นักศึกษา ด้านการปรับตัวด้านการเรียนภาษา อังกฤษ ด้านสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับ ผู้ปกครอง ด้านการสนับสนุนการเรียนจาก ผู้ปกครอง ด้านบรรยากาศการเรียนการสอน ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน และด้าน เทคนิควิธีการสอน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ระหว่างตัวแปรปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่า 0.210 (R = .210) และมีการแปรผัน ร่วมกันระหว่างตัวแปรปัจจัยกับตัวแปรเกณฑ์ ร้อยละ 4.40 (R2 = .044)

3. ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปร ปัจจัยส่งผลต่อตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรียงตามอันดับของน้ำหนักความสำคัญ คือตัวแปร ด้านการปรับตัวด้านการเรียนภาษาอังกฤษ (X1) และตัวแปรด้านบรรยากาศการเรียนการสอน (X4) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนตัวแปร ด้านการสนับสนุนการเรียนจากผู้ปกครอง (X3) ตัวแปรด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน (X5) และตัวแปรด้านเทคนิควิธีการสอน (X6) ส่งผลต่อ ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ

 

Factors Affecting Learning Achievement of English Majored Students, Faculty of Humanities and Social Sciences, Suan Dusit Rajabhat University

The purposes of this research were to study the multiple correlation of causal variables influencing learning achievement of English majored students in Humanities and Social Science Faculty, Suan Dusit Rajabhat University; and to investigate the significant weight of causal variables which affected their learning achievement. Samples of 250 were selected from 401 populations by using Stratified Random Sampling. The samples were undergraduated English programme students studying in Humanities and Social Science Faculty at Suan Dusit Rajabhat University in year 2012. Research instruments were questionnaires asking students for opinions on factors influencing their learning achievement. Statistics used in this study were Pearson Product – Moment Correlation Coefficient, t-test, and F-test. In here, Pearson Product – Moment Correlation Coefficient was applied to investigate the simple multiple correlation; t-test was used to test the statistical significance of multiple correlation together with the significant weight value, while F-test was employed to prove the significance of the multiple correlation.

Research results showed that

1. There were positive relationships significant at the .01 between every English learning factor and learning achievement; and the multiple correlation coefficients between causal variables and learning achievement were 0.210 (R = .210).

2. There was joint variation between casual and criterion variables at 4.40 percentage (R2 = .044).

3. The significant weight of casual variables had an influence on learning achievement variables as prioritized orderly. This indicated that there was statistical significance between variables on English learning adaptability (X1) and teaching and learning atmosphere (X4) at .01 level; while the variables on learning support from parents (X3), teachers’ characteristics (X5) together with teaching techniques (X6) had an influence on learning achievement with no statistical significance.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)