การศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

ศิรานุช บุญขาว
จิณณวัตร ปะโคทัง
เกษม บุญรมย์

Abstract

งานวิจัยเรื่องการศึกษาความคิดเห็นที่มี ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3 มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพใน การปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3 จำแนกตาม ตำแหน่ง อายุราชการ และขนาดสถานศึกษา

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2,098 คน โดยจำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 232 คน ครูผู้สอน จำนวน 1,866 คน กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 463 คน โดย แยกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 145 คน ครูผู้สอน จำนวน 318 คน ซึ่งได้มาโดยใช้ตาราง ของ Krejcie and Morgan

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ สมมุติฐานด้วย t-test และ F-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. ครูและผู้บริหารสถานศึกษามีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ด้านการพัฒนา ตนเองและพัฒนาวิชาชีพครู รองลงมา คือ ด้านการ พัฒนาผู้เรียน และด้านการพัฒนาสื่อและการเรียน การสอน ส่วนด้านที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู จำแนกตาม ตำแหน่ง อายุราชการ และขนาด สถานศึกษา ดังนี้

2.1 ความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

2.2 ความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจำแนกตาม ประสบการณ์ในการทำงานโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

2.3 ความคิดเห็นของข้าราชการครู ที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงา น จำแนกตามตามขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกัน โดยรวมมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการพัฒนา ผู้เรียนและด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน

 

A Study of the Work Performance Efficiencies of Teachers, under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Zone 3

The objectives of this study were 1) to investigate the work performance efficiencies of teachers, under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Zone 3 and 2) to compare the work performance efficiencies of government teachers on the basis of the respondent’s positions, length of service, and school size.

The population consisted of 2,098 government school teachers and administrators including 1,866 teachers and 232 administrators. A total of 463 respondents obtained on the basis of the table of Krejcie and Morgan including 318 teachers and 145 administrators were employed as the sample group of the study. A five-scale rating survey questionnaire yielding the overall reliability coefficient of .97 was used in data collection. The statistics namely mean, standard deviation, t-test, and F-test

The research findings were as follows:

1. The government school teachers and administrators were found to view the work performance efficiency of government teachers at a high level. The highest ranks included self-development and teaching professional development aspect followed by student development and teaching material development aspect. The participation in community development aspect was the lowest level of all.

2. The comparison of the opinions of the respondents on the work performance efficiencies of government teachers was found as follows:

2.1 The school teachers and administrators were found not to view the overall and individual aspects of work performance efficiency of government teachers differently at a significant level.

2.2 Those differing in work experience were found not to view the overall and individual aspects of work performance efficiencies of government teachers differently at a significant level.

2.3 The respondents working in schools with different size were found to view the overall work performance efficiencies of government teachers differently at level .05 of significance, but not differently at a significant level on student development and participation in community development aspects.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)