สภาพและปัญหางานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

ศิริพร เนตรอนงค์
อนุศักดิ์ เกตุสิริ
อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและข้าราชการครูที่มีต่อสภาพและปัญหางานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ และวุฒิการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้บริหาร และข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำแนกเป็น ผู้บริหาร จำนวน 223 คน และข้าราชการ ครู จำนวน 223 คน รวมทั้งสิ้น 446 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือ ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการรับหนังสือ ด้านการ ส่งหนังสือ ด้านการจัดเก็บหนังสือ และด้านการ สืบค้นหนังสือ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่า t และการทดสอบค่า F

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้บริหาร และข้าราชการครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 5 มีความคิดเห็นต่อสภาพ การดำเนินงานงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง

2. ผู้บริหาร และข้าราชการครู มีความ คิดเห็นต่อปัญหาการดำเนินงานสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ของสถานศึกษาโดยภาพรวมและ รายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง

3. ผู้บริหารและข้าราชการครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็น ต่อสภาพและปัญหาการดำเนินงานสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ของสถานศึกษา โดยภาพรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน

4. ผู้บริหาร และข้าราชการครู ที่มี ตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพและ การดำเนินงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของ สถานศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และมีปัญหางานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของ สถานศึกษาด้านการสืบค้นหนังสือราชการ อิเล็กทรอนิกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

5. ผู้บริหาร และข้าราชการครู ที่มี ประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็น ต่อสภาพและปัญหาการดำเนินงานสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ของสถานศึกษาโดยรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน

6. ผู้บริหาร และข้าราชการครู ที่มีวุฒิ การศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพและ ปัญหาการดำเนินงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

7. ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร และ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ต่อสภาพ และปัญหาการดำเนินงานงานสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ของสถานศึกษา ซึ่งเป็นแบบสอบถาม แบบปลายเปิด พบว่า

ด้านการรับหนังสือราชการ ควรมีการ อบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับระบบงานสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรมี งบประมาณในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี คุณภาพ ตลอดจนมีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่มีความเร็วสูง และควรมอบหมายให้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์เป็น ผู้รับผิดชอบงาน

ด้านการส่งหนังสือราชการ ควรมี การอบรมโดยมีการจัดทำคู่มือการใช้งาน ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้อง ควรมีงบประมาณในการจัดซื้อ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ ตลอดจนมีระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ ในการปฏิบัติงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

ด้านการจัดเก็บหนังสือราชการ ควรมี เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพสูงในการจัดเก็บ หนังสือราชการ และควรจัดเก็บหนังสือราชการ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์

ด้านการสืบค้นหนังสือราชการ ควรมี ขั้นตอนการสืบค้นหนังสือราชการที่ชัดเจน และ ระบบสืบค้นควรมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และทันต่อการดำเนินงาน

 

Situation and Problem of Using Electronic Documents in Schools of Ubon Ratchathani Primary Deucation Service Area Office 5

The objective of this study was to investigate the opinions of the school administrators and teachers on situation and problem of using electronic documents in schools of Ubon Ratchathani Primary Education Service Area Office 5. The surveyed opinions or respondents were analyzed on certain demographic bases including gender, position held, academic experience and education attainment. A total of 446 respondents from Ubon Ratchathani Primary Education Service Area Office 5, selected by using stratified random sampling method, classified into 223 school administrators and 223 teachers were used as the sample group of the study. The sample size was determined by using the table given the sample size of Kerjcie and Morgan. The research instrument was a five point scale rating questionnaire divided into four management aspects: sending, receiving, organizing, and searching mechanism in using electronic documents in schools of Ubon Ratchathani Primary Education Service Area Office 5 with the overall reliability coefficient of .97. The statistics utilized for data analysis included percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test and F-test.

The research findings were as follows :

1. The overall opinions of the school administrators and teachers on situation and problem of using electronic documents in schools under Ubon Ratchathani Primary Education Service Area Office 5 were found to be at an average level.

2. The school administrators and teachers who used electronic documents in schools had a problem in an average level.

3. The overall opinions of school administrators and teachers on situation and problem of using electronic documents in schools, classified on their gender, were found having no difference at a significant level.

4. The overall opinions of respondents on situation and problem of using electronic documents in schools categorized in position helde, were found no statistically difference but had different problem in using electronic documents at level .05 of significance.

5. The overall opinions of school administrators and teachers on situation and problem of using electronic documents in schools, sorted by academic experience, were found having no difference at a significant level.

6. The overall opinions of school administrators and teachers on situation and problem of using electronic documents in schools, organized according to their education attainment, were found having no difference at a significant level.

7. The overall opinions of the school administrators and teachers on situation and problem of using electronic documents in schools, given through open-ended questions, suggested that an overall seminar to improve their skills in using computer for developing electronic document should be provided.

Here are the suggested steps from the survey from the people to follow so that they can learn more about electronic document:

Receiving electronic document : the people should be given a seminar on using the computer to develop electronic document. Enough budgets to buy computers with high speed performance and good internet access. There should also be someone who is assigned to take care of everything. This person should be literate in using computer in developing electronic documents.

Sending electronic document : the seminar will help the people to become literate in using the computer in developing electronic documents. The people should also equipped with a manual on how to use the computer properly in developing electronic document. Computers will help them to become more effective workers in doing good works, especially in making electronic documents.

Organizing electronic documents : computers with good quality will help in filing management, the letters and documents.

Searching electronic documents : in searching electronic documents there should be steps to follow. These steps will make the searching convenient, fast, and efficient. In this way, documents will be easily available for people to use.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)