ปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์สถานศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนชานุมานวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการ พัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ของ โรงเรียนชานุมานวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 2) เพื่อปฏิบัติ การพัฒนาการบุคลากรเกี่ยวกับการวางแผน กลยุทธ์สถานศึกษา และ 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลการปฏิบัติการก่อนและหลังปฏิบัติการพัฒนา บุคลากรเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์สถานศึกษา
กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการ วางแผนกลยุทธ์โรงเรียนชานุมานวิทยาคม จำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้วิจัย และวิทยากร จำนวน 2 คน ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย อาศัยหลักการวิจัย ปฏิบัติการทางการศึกษา แบบสมมติฐานการปฏิบัติ ตามแนวคิด การวิจัยปฏิบัติการของ Corey ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน คือ 1) กำหนดขอบเขตปัญหาการวิจัยปฏิบัติการ 2) กำหนดสมมติฐานการปฏิบัติ 3) การปฏิบัติ ตามสมมติฐาน และ 4) การสรุปผลการปฏิบัติการ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับ การวางแผนกลยุทธ์ 2) แบบประเมินตนเอง ระหวา่ งศกึ ษาดูงาน 3) แบบทดสอบกอ่ นและหลงั การอบรมเชิงปฏิบัติการ 4) ชุดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ การเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ จำนวน 4 ชุด 5) แบบประเมินผลการนำเสนอใบงาน จำนวน 9 ฉบับ 6) แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างศึกษาดูงาน 1 ฉบับ และแบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมระหว่าง อบรมเชิงปฏิบัติการ 4 ฉบับ และดำเนินการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการ วางแผนกลยทุ ธส์ ถานศกึ ษา พบวา่ กลุ่มเปา้ หมาย ขาดความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการเกี่ยวกับ ขั้นตอนวิธีการของกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน การประเมินสถานภาพของโรงเรียน การจัดวาง ทิศทางของโรงเรียนและกำหนดกลยุทธ์ และ นอกจากนี้แล้วยังมีความต้องการพัฒนาบุคลากร เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์สถานศึกษาอยู่ใน ระดับมาก
2. ผลการปฏิบัติการตามสมมติฐาน เพื่อพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ สถานศึกษา
2.1 การศึกษาดูงาน กลุ่มเป้าหมาย ประเมินผลการศึกษาดูงานของตนเอง โดยรวมมี ระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก และมีพฤติกรรม ระหว่างศึกษาดูงาน โดยรวมมีระดับคุณภาพอยู่ ในระดับมากที่สุด ซึ่งทุกข้อผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สรุปได้ว่า การปฏิบัติการตามสมมติฐานที่ 1 ทำให้ กลุ่มเป้าหมายได้เกิดความรู้ความเข้าใจในเบื้องต้น ตระหนักและเห็นความสำคัญของการปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์
2.2 การอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่ม เป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการวางแผน กลยุทธ์ มีคะแนนสูงขึ้น ด้านการนำเสนอใบงาน โดยรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี และด้าน พฤติกรรมการมีส่วนร่วม โดยรวมมีระดับคุณภาพ อยู่ในระดับดี ซึ่งทุกข้อผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สรุป ได้ว่า การปฏิบัติการตามสมมติฐานที่ 2 ทำให้กลุ่ม เป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการปฏิบัติ งานเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์หลังปฏิบัติการ สูงกว่าก่อนปฏิบัติการ
3. ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติการ ก่อนและหลังปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับ การวางแผนกลยุทธ์สถานศึกษา พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีผลการพัฒนาเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์หลัง การปฏิบัติสูงกว่าก่อนการปฏิบัติโดยผลการ ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน กลยุทธ์หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ มากกว่าก่อน การอบรมเชิงปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
The Operation of Personnel Development on Strategic Planning of School : a Case of Study Chanuman Wittayakom School under the Secondary Educational Service Area Office 29
The objectives of this study were threefold: 1) to investigate the current state, problems of and need in personnel development on strategic planning, 2) to implement the development of personnel on strategic planning, and 3) to compare the before and after implementation results of the school’s strategic planning of Chanuman Wittayakom School under the Secondary Educational Service Area Office 29.
The target populations were included 11 school strategic planning committees, selected by means of a purposive sampling technique and key informants consisted of the investigator and two trainers. Corey’s assumption was employed as the research processes involving 1) specifying operational problem scope, 2) forming operational hypotheses, 3) operating to prove hypotheses, and 4) concluding the operation.
The instruments used in data collection were 1) a questionnaire asking about the current state, problems of and needs in personnel development on strategic planning, 2) a self-evaluation while in study tours, 3) a pre-test and a post-test of the training, 4) 4 sets of strategic planning operational training kit, 5) 9 sets of exercise evaluation, and 6) 5 sets of behavioral observation form of participation including a behavioral observation form while in the study tour and four behavioral observation form of participation while on training. The collected data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-test.
The research findings were as follows:
1. The investigation of the current state and problems of personnel development on strategic planning showed the target populations’ shortage of several aspects concerning strategic planning namely knowledge and understanding, skill in strategic planning processes, school context analysis, evaluation of school state, and school positioning and establishment of strategies. The need in personnel development on strategic planning was found to be at a high level.
2. For the implement the development of personnel on strategic planning in Chanuman Wittayakom School under the Secondary Educational Service Area Office 29, the following results were gained.
2.1 The study tour was assessed by the participants themselves. The overall quality was found to be at a high level and the behavior while in the study tour was at the highest level which met the criteria set up. Summing up, the operation of hypothesis 1 resulted in the understanding and awareness of the importance of operational strategic planning in the participants.
2.2 The operational training resulted in the target populations understood better shown through their higher scores on the posttest. Their presentation of exercise sheets was found to be at a good quality level as well as the participation behavior that met the established criteria. In conclusion, the operation of hypothesis 2 resulted in the participants’ knowledge and understanding and more skill on operational strategic planning.
3. The comparison of the before and after implementation results of the school’s strategic planning showed the development of the target populations on this matter indicated through their higher mean score on the post-test than that of the pre-test at level .05 of significance.