ความพึงพอใจของข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4

Main Article Content

ยลรวี ศิริรัตน์พิริยะ
สุวิมล โพธิ์กลิ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความพึงพอใจของข้าราชการ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 4 โดยจำแนกตามเพศ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และขนาดของโรงเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 345 คน จำแนกเป็นราชการครู จำนวน 182 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 163 คน โดยการสุ่มแบ่งชั้นภูมิ และ กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 48 ข้อ 5 ระดับ มีความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานการทดสอบค่า t การทดสอบ ค่า F

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความพึงพอใจของข้าราชการครูและ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อภาวะ ผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก

2. การเปรียบเทียบความพึงพอใจของ ข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า

2.1 ข้าราชการครูและคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานชายและหญิงมีความ พึงพอใจต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน คือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความฉลาดทางอารมณ์ ด้านความสามารถ ในการบริหาร และด้านการสื่อสารไม่แตกต่างกันส่วนรายด้านพบว่า ด้านความรู้ในการปฏิบัติ หน้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

2.2 ข้าราชการครู และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อภาวะ ผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม และ รายด้านคือ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความฉลาดทาง อารมณ์ ด้านความสามารถในการบริหาร และ ด้านการสื่อสารไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านความรู้ใน การปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05

2.3 ข้าราชการครู และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาน ศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกนั อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านความรู้ ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่แตกต่างกัน

2.4 ข้าราชการครูและคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่โรงเรียนขนาดต่างกันมี ความพึงพอใจ ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาน ศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Satisfaction of Government Teachers and Basic School Committee with Leadership of the School Administrators under the Office of Ubon Ratchathani Educational Service Area 4

This study aimed to investigate and compare the satisfaction of government teachers and basic school committee with leadership of the school administrators under the Office of Ubon Ratchathani Educational Service Area 4. The comparison was categorized on the basis of gender, position, educational level, and school size.

A total of 345 samples, selected by means of stratified and simple random sampling techniques, including 146 teachers and 199 basic school committee of which the sample group size was determined by the table of Krejcie and Morgan, were employed as the sample group of the study. A 5-point rating scale survey questionnaire concerning 48 question items yielding an overall reliability of.98 was used as the research instrument. The statistics, that is, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and the comparison test of Scheffe’ were employed in data analysis.

The research findings were as follows:

1. The satisfaction of government teachers and basic school committee with leadership of the school administrators under the Office of Ubon Ratchathani Educational Service Area 4 was found to be operated in the overall and individual aspects at a high level.

2. Comparison of the satisfaction of government teachers and basic school committee with leadership of the school administrators under the Office of Ubon Ratchathani Educational Service Area 4 deals found. 2.1 Both male and female respondents were found not to be different in satisfaction with the overall and individual aspects namely vision, emotional intelligence, administrative skill, andcommunication of leadership of the school administrators at a significant level. However, being knowledgeable in work performance was found to be different at level .05 of significance.

2.2 The respondents holding different positions as teachers and basic educational committee were found not to be different in satisfaction with the overall and individual aspects namely vision, emotional intelligence, administrative skill, and communication of leadership of the school administrators at a significant level. However, being knowledgeable in work performance was found to be different at level .05 of significance.

2.3 The respondents having different educational levels were found to be different in satisfaction of government teachers and basic school committee with overall and individual aspects of leadership of the school administrators at level .05 of significance except work performance aspect.

2.4 Those working for schools with different size were found to be different in satisfaction with the overall and individual aspects at level .05 of significance.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)