การศึกษาขวัญและกำลังใจของครูในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

จงภรณ์ ธรรมสัตย์
สุวิมล โพธิ์กลิ่น

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขวัญ และกำลังใจของครูในสถานศึกษา สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อเปรียบ เทียบขวัญและกำลังใจของครูในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามอายุ และประสบการณ์ในการทำงาน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูในสถานศึกษา สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี 257 คน ซึ่งได้ มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F

ผลการวิจัยพบว่า

1. ขวัญและกำลังใจของครูในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านความต้องการสัมฤทธิ์ผล ด้านความรักและความผูกพัน และด้านความ ต้องการอำนาจ อยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบขวัญและกำลังใจ ของครูในสถานศึกษา

2.1 ขวัญและกำลังใจของครูใน สถานศึกษา ที่มีอายุต่างกัน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่ มีอายุไม่เกิน 25 ปี มีความคิดเห็นต่อขวัญและ กำลังใจของครูในสถานศึกษา สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี แตกต่างกับผู้ตอบ แบบสอบถามที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป ส่วนคู่อื่นๆ ไม่แตกต่างกัน

2.2 ขวัญและกำลังใจของครูใน สถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุบลราชธานีที่มีประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

3. ข้อเสนอแนะที่มีผลต่อขวัญและ กำลังใจของครูในสถานศึกษา สรุปได้ดังนี้

3.1 ข้อเสนอแนะประเด็นที่เกี่ยวกับ ด้านความต้องการสัมฤทธิ์ผล พบว่า ครูในสถานศึกษา ต้องการสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล เบิกจ่ายตรงมากที่สุดต้องการให้มีการพิจารณา เลื่อนขั้นเงินเดือน ตามประสิทธิภาพของการ ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม และต้องการเงิน โบนัสเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และครูในสถานศึกษาต้องการเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงาน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

3.2 ข้อเสนอแนะประเด็นที่เกี่ยวกับ ด้านความต้องการความรักและความผูกพัน พบว่า ครูในสถานศึกษาต้องการให้จัดกิจกรรม ศึกษาดูงานเป็นหมู่คณะเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน

3.3 ข้อเสนอแนะประเด็นที่เกี่ยวกับ ด้านความต้องการอำนาจ พบว่า ครูในสถานศึกษา ต้องการอำนาจในการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการแก้ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ด้วยตนเอง ครูในสถานศึกษาต้องการมีส่วนร่วม ในการวางแผนพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น สำหรับประเด็นที่น้อยที่สุดคือ ครูใน สถานศึกษาต้องการให้ผู้บังคับบัญชายอมรับ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของครู

 

A Study of the Morale of School Teachers Working under the Jurisdiction of Ubon Ratchathani Provincial Administration Organization

The objectives of this study were to investigate the morale of school teachers working under the jurisdiction of Ubon Ratchathani Provincial Administration Organization and to compare the opinions of the teachers toward the morale of school teachers as classified by their age and work experience.

A total of 257 samples selected by means of a simple random sampling method were employed as the sample of the study. A 5-point rating scale survey questionnaire yielding the overall reliability coefficient of.96 was used in data collection. The statistics including percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test were used in data analysis.

The research findings were as follows:

1. Overall, the morale of school teachers was found to be viewed at a high level. For the individual aspects, the achievement need, love and affiliation needs, and power need aspects were found to be in need at a high level.

2. In comparison of the opinions of the respondents the following were derived.

2.1 Overall, those who differed in age were found to view the morale of school teachers differently at level .05 of significance. Those who aged not older than 25 years viewed the aspects affecting the morale of school teachers differently from those who aged 35 years and older while the remaining group comparison was found not to be different.

2.2 The respondents who differed in work experience were found not to view the morale of school teachers differently at a significant level.

3. The suggestions on the morale of school teachers given by the respondents were obtained as follows:

3.1 In terms of the achievement need aspect, a welfare namely direct reimbursement of medication expenses was the most highly in need. Besides, fair salary promotion in accord with work performance and efficiency, bonus on work performance, and new technological instruments that support their work performance and learning activities were also highly needed.

3.2 For the love and affiliation aspect, group study tours to best practice places in various aspects of school administration and provision were needed in order to promote the relationship among colleagues and administrators.

3.3 The power need aspect, power in decision making in work operation and problem solution, participation in school planning were found to be highly needed while wanting the administrators’ listening to their voices and advice were found to be at a lower level in need.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)