สภาพและปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อ ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบ สภาพและปัญหาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด อุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของนายกองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการศึกษา ครูผู้ดูแล เด็กอนุบาลและปฐมวัย จำแนกตาม ประสบการณ์ ในการทำงานและรูปแบบขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดอยู่ 3) เพื่อ ศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางในการบริหารงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ ศึกษา และครูผู้ดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัยใน เขตจังหวัดอุบลราชธานี ได้มาโดยการสุ่มแบบ ชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบค่า F ทำการทดสอบ รายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe’
ผลการวิจัยพบว่า
1. นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการศึกษา ครูผู้ดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ สภาพการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนี้
1.1 สภาพการบริหารงานศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความคิดเห็นในระดับ มากเรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารงาน วิชาการ ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหาร งานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล
1.2 ปัญหาการบริหารงานศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กโดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีความคิดเห็นในระดับ น้อยเรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหาร งานบุคคล ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการ บริหารงานงบประมาณและด้านการบริหารงาน ทั่วไป
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับ สภาพและปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก
2.1 ผู้บ ริห า ร แ ล ะ ค รูที่มี ตำแหน่งและประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาโดยจำแนกตาม ตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นราย ด้านพบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณและ ด้านการบริหารงานบุคคล นอกนั้นมีความ คิดเห็นไม่แตกต่างกัน
2.2 ผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับรายข้อ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ข้อ คือ ด้านการบริหาร งานทั่วไป
2.3 เมื่อพิจารณาตามรูปแบบที่ แตกต่างกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดอยู่ต่างกัน มีความคิดเห็น โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนความคิด เห็นต่อปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรวมและราย ด้านไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะและแนวทางในด้าน การบริหารงาน ทั้ง 4 ด้าน
3.1 ด้านการบริหารงานวิชาการ ควร มีการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กให้ครอบคลุมกับการกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดหาสื่อวัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยีการเรียนการสอน ที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ของเด็ก
3.2 ด้านการบริหารงานงบประมาณ ควรมีการบริหารงานด้านงบประมาณในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก ตามระเบียบ กฎหมายและหนังสือ สั่งการของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด้วยความโปร่งใส
3.3 ด้านการบริหารงานบุคคล ควร ส่งเสริมให้ครูเข้ารับการฝึกอบรม นำความรู้และ เทคนิคใหม่ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอน ส่งเสริม การมีส่วนร่วมในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและ ควรมีการประเมินผลและนิเทศติดตามบุคลากร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง
3.4 ด้านการบริหารงานทั่วไป ควรมี การบำรุงดูแลและพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพ แวดล้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้อยู่ในสภาพ ที่มั่นคง ปลอดภัยควรมีการพัฒนาระบบเครือข่าย ข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษามีประชาสัมพันธ์ เชิงรุกการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ชุมชน องค์กรอื่นได้รับข่าวสารการจัดการศึกษาการจัด กิจกรรมต่างๆ
The State and Problems of the Child-Care Center Administration of the Local Administration Offices in Ubon Ratchathani Province
The objectives of this study were to 1) investigate the state and problems of the child-care center, 2) compare the state and problems of the child-care center administration in the view of the mayors, academics, and child-care teachers as classified by their work position, work experiences, and the child-care center models, and 3) examine the advice in administering the local administration offices in Ubon Ratchathani province.
The sample of the included the mayors, academics, and child-care teachers selected by means of a stratified random sampling method. The research instrument was a five-point rating scale survey questionnaire yielding the overall reliability coefficient of .96. The statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and the comparison of Scheffe’ were used in data analysis.
The research findings were as follows:
1. The respondents viewed the state and problems of the child-care center as the following.
1.1 Overall, the state of the child-care center was found at a high level. For the individual aspect, in the order of the most to the least level, the high state of administration was found in academic, general, budget, and personnel.
1.2 The overall problems of the child-care center were found at a lower level. For the individual aspect, in the order of the most to the least level, the problems of administration were found in personnel, academic, budget, and general administration.
2. The comparison of the respondents’ opinions in the state and problems of the child-care center were gained as follows:
2.1 Those having different work positions and work experiences did not view the state and problems of the child-care center differently in the overall and individual aspects. Overall, the opinions of the respondents holding different positions were different at level .01 of significance. Individually, the significant difference at level .01 was found in budget and personnel administration aspects.
2.2 The respondents differing in work experiences did not view the state and problems of the child-care center differently in the overall and individual aspects. Overall, the opinions toward the problems were found to be different at level .05 of significance. Individually, only was the general administration aspect found to be significantly different at level .05.
2.3 The respondents working in the centers that were different in models did not view the state and problems of the child-care centers differently at a significant level.
3. The advice was gained for four aspects of the administrations of the child-care centers.
3.1 For academic aspect, providing experiences that covered all learning strands should be focused as well as materials and technological instruments proper for age and experience levels of the children.
3.2 Regarding budget administration, abiding by laws and regulations and transparency should be practiced.
3.3 For personnel administration, trainings and implementing new techniques in teachings should promoted, and participating in the administration of the child-care administrative boards should be enhanced. Evaluation and monitoring of the centers’ personnel should be continuously done.
3.4 In terms of general administration, maintenance of buildings and environments to keep the centers safe and livable should be promoted. Information system development, progressive public relations should also be done to keep the public informed of the centers’ affairs.