การศึกษาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24

Main Article Content

ชาญชัย นาชัยบูรณ์
ศิริ ฮามสุโพธิ์
สุรัตน์ ดวงชาทม

Abstract

การวิจัยเรื่องการศึกษาการทำงานเป็นทีม ของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 มีการดำเนินการ 2 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร สถานศึกษาและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2555 จำนวน 325 คน ได้มาจากการสุ่มโดยกำหนด ขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบ รายการมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าดัชนีความ สอดคล้องของข้อคำถาม (IOC) ระหว่าง .08-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .846 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way Anova) และทดสอบความแตกต่างเป็นแบบรายคู่ด้วยวิธี ของ Scheffe´

ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของ บุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยการสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้จำนวน 9 คน ใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เนื้อหา นำเสนอแบบความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

1) การทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 มีการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

2) การเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน รายด้าน 8 ด้าน มีการทำงานเป็นทีม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการพัฒนาบุคลากรมีการทำงานเป็นทีมแตกต่างกันโดยโรงเรียนขนาดเล็ก มีการทำงานเป็นทีมมากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่

3) แนวทางการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 พบว่าการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 อยู่ในระดับมากขึ้นไปในทุกด้าน อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีด้านใดอยู่ระดับมากที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ บ่งบอกถึงแนวทางในการพัฒนาต่อไป

 

Teamwork of Staff in School under The Secondary Education Service Area Office 24

The purpose of this research were for studying comparing and developing the teamwork of staff in schools under The Secondary Education Service Area Office 24. The researchs procedure was divided into two phases:

Phase 1 aimed for studying and comparing the teamwork of staff in schools under The Secondary Education Service Area Office 24 discriminated by school sizes. The samples were 325 administrators and teachers in schools under The Secondary Education Service Area Office 24 were selected by using Krejcie & Morgan table which were used stratified random sampling and simple random sampling. Research instruments were a set of rating scale questionnaires and check list which have content validity by specialist (IOC) from 0.8 to 1.00 and reliability .846. Data was analyzed through statistics of percentage, mean, standard deviation and Scheffe’s method were statistically employed in the data analysis (one –way anova)

Phase 2 aimed for studying guideline for developing the teamwork of staff in schools under The Secondary Education Service Area Office 24 by focus group discussion and target of group discussion consisted of 9 interviewed scholars. The data from focus group discussion was taken by note taking from. The data was analyzed using a content analysis and presented descriptively.

The results of this research revealed the following:

1) Teamwork of staff in school under The Secondary Education Service Area Office 24 as viewed by teachers and administrators both as a whole and each aspect were rated a high level.

2) Comparing The teamwork of staff in schools under The secondary Education Service Area Office 24 discriminated by school sizes, were 8 aspects had no significant difference at the level of .05, except personnel development aspect by the small school sizes had teamwork of staff more than large school sizes.

3) The proposed guidelines for development Teamwork of staff in schools under The Secondary Education Service Area Office 24 was incresed in every aspect however, no aspect was the best that indicate for developing further.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)