สภาพและปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อังคณา จันทร์หนองหว้า
เกริกไกร แก้วล้วน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาล จังหวัดอุบลราชธานี เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลจังหวัด อุบลราชธานี ตามความคิดเห็นของนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล หัวหน้ากองการศึกษา นักวิชาการศึกษาและผู้ดูแลเด็ก จำแนกตาม ตำแหน่งและขนาดของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล หัวหน้ากองการศึกษา นักวิชาการศึกษา ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็กเล็ก รวม 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า F เมื่อพบความแตกต่าง ทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe´และการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาล จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมา ทุกด้าน เรียงลำดับดังนี้ ด้านงานธุรการ การเงิน และพัสดุ ด้านงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านงานการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน ด้านงานบุคลากรและการบริหารจัดการ และ ด้านงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร

2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาต่อสภาพและปัญหาการบริหารงานศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาล จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามตำแหน่ง พบว่าโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรและงานการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.50

3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาต่อสภาพปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาล จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามขนาดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่าโดยรวมและราย ด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านงานอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อม และงานธุรการ การเงินและพัสดุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ปัญหาการบริหารงานศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ด้านงานบุคลากรและการบริหารจัดการ จำนวนผู้ดูแลเด็กไม่เหมาะสมกับจำนวนเด็ก ทำให้ การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์เด็กได้ ไม่ทั่วถึง บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีจำนวน น้อย มีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมากเกินไป ด้าน งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม การจัดสรร งบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารจัดการด้าน อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านงานวิชาการ และกิจกรรมตามหลักสูตร ครูผู้ดูแลเด็กยังไม่เห็น ความสำคัญของการทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านงาน การมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กขาดการเสริมสร้างความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กให้กับผู้ปกครอง เพราะการเลี้ยงดูของผู้ปกครองเป็นอุปสรรคต่อ พัฒนาการของเด็ก

5. ข้อเสนอแนะและแนวทางในการ บริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาล จังหวัดอุบลราชธานี ด้านงานบุคลากร และการ บริหารจัดการ ควรรับผู้ดูแลเด็กเพิ่มให้เพียงพอ ต่อสัดส่วนเด็ก ด้านงานอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อม ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ในการบริหารจัดการด้านงานอาคารสถานที่และ สิ่งแวดล้อม ด้านงานวิชาการและหลักสูตร ควร ส่งเสริมการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านงานการมี ส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน ควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร และพัฒนาการ เด็กแก่ผู้ปกครองเด็กเล็กอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม

 

The State and Problems of Administration of Ubonratchathani Provincial Municipality Child-Center Development

The objectives of this study were to investigate the state and problems of administering Ubonratchathani provincial municipality child-center development, to compare the state of child-center administration development, and to gather the suggestions and ways of administering Ubonratchathani provincial municipality child-center development as perceived by mayors, chiefs of municipal clerk educators, and childcare takers. A total of 248 subjects including mayors, chiefs of municipal clerk educators, childcare takers, and parents selected on the basis of their positions and size of the centers were employed as the sample of the study. A 5-point rating scale survey questionnaire yielding the overall reliability coefficient of.82 was used in data collection. The statistics including percentage, mean, standard deviation, F-test, and Scheffe’s test were used in data analysis.

The research findings were as follows:

1. The overall and individual aspects of the state of administration of Ubonratchathani provincial municipality child-center development was found to be performed at a high level. A high level of performance included finance and material aspect, building and environments aspect, community participation and cooperation aspect, personnel and administrative aspect, and academic and curricular activity aspect was respectively found for the individual aspects.

2. In comparison of the opinions of the subjects toward the state and problems of administration of Ubonratchathani provincial municipality child-center development, an insignificant difference among the overall and individual variables studied except two variables namely the academic and curricular activity aspect and community participation and cooperation aspect which were found to be different at level .05 of significance was derived.

3. The opinions of the subjects toward the state and problems of administration of Ubonratchathani provincial municipality child-center development as classified by size of the centers indicated an insignificant difference among the overall and individual variables examined except three variables that is building and environment aspect, personnel and administrative aspect, and finance and material aspect which were found to be different at level .05 of significance.

4. Several problems in administering child –center development were found. Insufficiency of childcare takers and staffers compared to the amount of children affecting the effectiveness of child nurture and experience provision and over-workload of the personnel were found in the personnel and administrative aspect. For the building and environment aspect was problematic in insufficiency of budget and buildings for children. Lack of enthusiasm in classroom research was a vital problem in the academic and curricular activity aspect. Lack of promoting the knowledge and understanding of nurturing children to parents was the main problem of community participation and cooperation aspect.

5. The suggestions and ways of administering the development of child-center were found to be in accord with the views on the problems in administering child–center development. Provision of enough personnel as well as sufficient budget for building construction and environment management were gained for the solution to the personnel and administrative aspect and the building and environment aspect. Promotion of classroom research and training of parents on how to nurture their children for at least once in a year were obtained for the academic and curricular activity aspect and the community participation and cooperation aspect.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)