สภาพการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

Main Article Content

ประชา การินทร์
จิณณวัตร ปะโคทัง
สุวิมล โพธิ์กลิ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และ ขนาดของโรงเรียนศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 348 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารจำนวน 36 คน และครูผู้สอน จำนวน 312 คน จาก 42 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเป็นแบบประมาณค่า จำนวน 71 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .88 การวิเคราะห์ข้อมูลคำนวณหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่า t การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว แล้วทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย เป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe’s

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านการเตรียมและวางแผนดำเนินงาน ด้านการดำเนินการตามแผน ด้านการประเมินผล มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และในด้านการนิเทศ กำกับ และติดตาม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง

1.1 การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณา รายด้านพบว่า ทั้ง 4 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

1.2 การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน

1.3 การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน ทุกด้าน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แล้วนำผลที่ได้มาทดสอบรายคู่ พบว่า โรงเรียนขนาดเล็ก กับโรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดกลาง กับโรงเรียนขนาดใหญ่มีความคิดเห็นต่อสภาพ และปัญหาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาโดยรวม โรงเรียนขนาดเล็ก มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียน มากกว่าโรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดกลางมีความคิดเห็นต่อ สภาพและปัญหาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มากกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่

2. ปัญหาจากการบริหารระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน ในด้านการเตรียมการและ วางแผนการดำเนินงาน คือ ขาดการเตรียมการณ์ ล่วงหน้า ขาดงบประมาณและบุคลากรที่ปฏิบัติ หน้าที่ การแบ่งหน้าที่ไม่ชัดเจน ไม่มีแผนกลยุทธ์ ที่จะนิเทศ กำกับ และติดตาม ขาดบุคลากรและ งบประมาณในการกับดูแลตามที่ควรกระทำ และ ขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่น และใน ด้านการประเมินผลนั้น ขาดข้อมูลในการประเมิน ที่ต่อเนื่อง อีกทั้งไม่มีการประสานงานระหว่าง ผู้ปกครอง ชุมชน ในการประเมินผลทำให้การ ประเมินผลไม่เป็นรูปธรรม

3. ข้อเสนอแนะในการบริหารระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน สำหรับโรงเรียนควรจัดสรร งบประมาณตามแผนงานและโครงการระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน ศึกษาปัญหาของนักเรียนในทุกๆ ด้านก่อนดำเนิน โครงการ พร้อมทั้งควรมีการเตรียมการณ์ล่วงหน้า ก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อลดปัญหาอุปสรรคและเพื่อ ให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ สำหรับครูผู้สอน เมื่อมีนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มมีปัญหา ควรดำเนินการส่งต่อนักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มมีปัญหาไปยังผู้เชี่ยวชาญ จัดทำระเบียนสะสมของนักเรียนทุกคนให้ครบถ้วน และศึกษาระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนเพื่อสามารถช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกวิธี สำหรับผู้บริหาร ควรให้คณะครูมีส่วนร่วมในการประเมินผล ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ควรนิเทศกำกับและติดตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากกว่าที่เป็นอยู่ และควรจัดสรรงบประมาณในการนิเทศกำกับ และติดตามให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน

 

The State of the Administration of Students Caring and Supporting System under the Office of Secondary Educational Service Area 29

The purposes of this research were to study and compare the state of administration of students caring and supporting system under the Office of Secondary Educational Service Area 29, as classified by their work positions, educational level, and size of school and to study of problem and offer guidance for administrating the students caring and supporting system. A total of 348 respondents consisting of 36 administrators and 312 teachers working in 42 schools under the Office of Secondary Educational Service Area 29, academic year 2011 were employed as the sample of the study. The instrument employed for data collection was a 5-point rating scale questionnaire comprising 71 items with the overall reliability of 0.88. The data were analyzed by means of percentage, mean standard deviation, the independent sample t-test and one – way ANOVA and Scheffe’s test.

The research findings were as follows:

1. The overall state of the administration of students caring and supporting system in the view of school administrators and teachers were found to be at a high level. In the individual aspects of the administration the preparation and planning, implementation of plans, and evaluation were found at a high level whereas that of the direct supervision and monitoring was at a moderate level of practice.

1.1 The comparison of the opinions of the respondents toward the state of the administration of students caring and supporting system as analyzed on the basis of the respondents’ work positions showed the difference at level .05 of significance in the overall and four individual aspects of the administration.

1.2 The opinion comparison as analyzed on the basis of the respondents’ educational level showed no statistical difference at a significant level in the overall administration of students caring and supporting system.

1.3 In terms of the school size, the respondents viewed the practice of the administration of students caring and supporting system in schools, the results revealed the difference at level .05 of significance in the overall and all individual aspects of the administration. The Scheffe’s test showed the difference in the opinions of those who worked in small-sized and in large-sized schools, in middle -sized and in large-sized schools at level .05 of significance in the overall and all individual aspects of the administration of students caring and supporting system. The difference was indeed found in that those working in small-sized schools rather. than in the middle-sized and in large-sized schools.

2. The problems of the administration of students caring and supporting system were found in the preparation and planning aspect in that there were lacks of advance preparation, funding and personnel to perform their duties, clear job and duty assignments, practical strategies to put the plans into action. For the implementation of plans, lacks of the operation system and cooperation from all parties in schools were found. Involving the direct supervision and monitoring, the lack of personnel and budget oversight as it should be and lack of coordination with other agencies were also existed. Regarding the evaluation aspect lack of information in the evaluation and coordination between parents and community resulted in no concrete evaluation results.

3. The recommendations for the administration of students caring and supporting system for school, allocating sufficient budgets following the established plans and projects should be focused. The study of students’ problems in all aspects should be done before launching any projects. Planning in advance before the schools open could help reduce problems in the operation and booster the achievements of the plans. For teachers, when any individual student or student groups were found at risks or having problems, they should be sent to specialists; the teachers should also make a complete record of the students in all respects and study the students caring and supporting system in order that they could help the students in a correct way. For school administrators, providing the teachers to participate in the evaluation of students caring and supporting system should be promoted. More supervisions and monitoring should also be done by school administrators. Budgets on supervisions and monitoring should be allocated in order that better appropriate effective supervisory means and monitoring of the students caring and supporting system in secondary schools could be made possible.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)