การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหาร ส่วนตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าเสือโก้ก 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชน ต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหาร ส่วนตำบลเหล่าเสือโก้ก จำแนกตาม เพศ ระดับ การศึกษาและอาชีพ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัด อุบลราชธานี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหาร ส่วนตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 375 คน โดยวิธีการ สุ่มอย่างง่าย จากบัญชีรายชื่อบ้านเลขที่ที่อยู่ในเขตโดยสำรวจครัวเรือนละ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามโดย ใช้มาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหาร ส่วนตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี มีค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ใน ระดับมาก ( = 4.05 ) โดยในแต่ละด้านมีผล การประเมินความพึงพอใจดังนี้
1.1 ด้านกระบวนการขั้นตอนการ ให้บริการมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.89)
1.2 ด้านเจ้าหน้าที่/บุคลากร ผู้ให้บริการมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05)
1.3 ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวย ความสะดวกมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05)
1.4 ด้านการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยโดย รวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.98)
1.5 ด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.08)
1.6 ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตมีค่า เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28)
2. การเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของ องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอ เหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมพบว่า
2.1 ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านสิ่งแวดล้อม มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ.05
2.2 ประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ.01
2.3 ประชาชนที่มีอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะ พบว่า ประชาชนยังมีความต้องการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตให้มากขึ้น เน้นการสร้างอาชีพการมีรายได้การมีงานทำพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะสำคัญคือ มีการให้บริการที่รวดเร็วคล่องตัวมากขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานให้กระชับ และให้มีการบริการที่ตอบสนองกับความต้องการของประชาชนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
A Study of the Public’s Satisfaction towards the Quality of Service Provided by Laosueukok Administrative Organization in Ubon Ratchathani’s Laosueakok District
The research aimed to 1) study the public’s satisfaction towards the quality of the service provided by Laosueakok Administrative Organization; 2) to compare the satisfaction of the public towards the service quality in the local body in the study as classified by sex, educational levels, and occupations; 3) to examine the suggestions towards the service as provided by the local administrative organization under study. The samples used in the research were 375 local residents dwelling under Laosueakok Administrative Organization in Laosueakok of Ubon Ratchathani province. They were obtained by a simple random sampling. The research instrument was a five-rating scale questionnaire of 30-items with a confidence value equivalent to .96. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and F-test.
The research findings were as follows:
1. The public’s satisfaction towards the quality of service as provided by Laosueakok Administrative Organization was at a high level (X=4.05) in six aspects as shown:
1.1 The satisfaction in respect of the service processes was on average at a high level (X=3.89).
1.2 The satisfaction in respect of the personnel/ officials was on average at a high level (X=4.05).
1.3 The satisfaction in respect of space and facilities was on average at a high level (X=4.05).
1.4 The satisfaction in respect of participation was on average at a high level (3.98).
1.5 The satisfaction in respect of an environment was on average at a high level (4.08).
1.6 The satisfaction in respect of the life quality was on average at a high level (X=4.28).
2. As regards the public’s satisfaction towards the service provided by Laosueakok Administrative Organization, it was found that:
2.1 The local residents in the study who were different in sex held no different opinions towards the service quality, they held different opinions in terms of the environment with a statistical significance of .05.
2.2 The residents who held educational levels had different opinions towards the service quality with a statistical significance of .01.
2.3 The residents who had a different occupation held no different opinions towards the service quality of the local administrative body under study.
3. As for the suggestions, it was found that the residents still wanted more life quality development, more income-earning occupations, infrastructure development.
Especially important, the service should be quick and more flexible service, time-consuming steps should be reduced, the service should be in line with the public’s needs of particular groups, for example, the women, the children, the youth and the elderly.