การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยการนิเทศแบบคลินิก สำหรับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ธันร์ญพรน์ ไชยพรรค

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบ สืบเสาะหาความรู้ ความคิดเห็นครูที่มีต่อการนิเทศแบบคลินิก และความคิดเห็นของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครู โดยศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) ครูผู้สอนที่ปฏิบัติการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยมสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสมุทรสาคร ที่สมัครใจและมีความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสืบ เสาะหาความรู้โดยการนิเทศแบบคลินิก จำนวน 1 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 และ 3/2 จำนวน 52 คน ได้ดำเนินการศึกษาในภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม 2557 ถึงวันที่ 4 กันยายน 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) เครื่องมือประเมินครู ได้แก่ 1.1) แบบประเมิน ความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะก่อนและหลังการนิเทศแบบ คลินิก 1.2) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอน 1.3) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศแบบคลินิก 2) เครื่องมือประเมินนักเรียน ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครู และ 3) เครื่อง มือผู้นิเทศ ได้แก่ แผนการนิเทศแบบคลินิก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( Χ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. หลังได้รับการนิเทศแบบคลินิก ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะ หาความรู้เพิ่มขึ้น

2. หลังได้รับการนิเทศแบบคลินิกครูมีพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้มากขึ้น

3. ด้านความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศแบบคลินิก พบว่า

3.1 ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

3.2 ช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

3.3 ปัญหา/อุปสรรคของการนิเทศแบบคลินิก พบว่า ระยะเวลาในการนิเทศน้อยและเป็นช่วงเวลาที่ครูกำลังปรับตัว

3.4 ปัญหา/อุปสรรค ของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ พบว่า นักเรียนคิดวิเคราะห์น้อย นักเรียนไม่กล้าแสดงออก นักเรียนขาดประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีม

4. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก

 

Develop the Ability to Manage Learning Inquiry Method with Clinical Supervision for Science Teachers Grade 3 BAN PLONGLIAM School Samut Sakhon Provincial Administrative Organization

The purpose of this research were to evaluate the ability to write lesson plans with inquiry method, capable in manage learning inquiry method, opinions of teacher on clinic supervision and opinions of students to teaching by studied two group the target: 1) The prospects is a science teacher that teach Mathayom 3 Banplongliam school Samut Sakhon provincial administrative organization that voluntary and development needs manage Learning Inquiry Method with Clinical Supervision 2) The students 52 persons were studying Mathayom 3/1 and 3/2 in Term 1/2557 in August 23, 2557 to September 4, 2557. The instruments consists 1) Teacher assessment tools consists 1.1) The ability assessment form to write lesson plans with inquiry method before and after supervising a clinical 1.2) Behaviors observation form on manage learning of teacher 1.3) Questionnaire of teachers opinions on clinical supervision, 2) Students assessment tools is questionnaire opinions of students on the teaching, and 3) The supervision Instruments is plans to clinical supervision. The statistics used in the data analysis consists percentage mean standard deviation using computer program and content analysis

Research finding were as follows:

1. clinical supervision allows can teacher write lesson plans inquiry method increase.

2. clinical supervision allows teacher have behaviors manage learning inquiry method greater.

3. The opinions of teacher on clinic supervision found.

3.1 Allows teacher can manage learning inquiry method by self.

3.2 Allows students acquire knowledge, understanding more.

3.3 Problems / barriers of the clinical supervision found that less period of to supervise and teacher need time in adapted.

3.4 Problems / barriers of teaching with inquiry method found that students have less think critically, less expressive and haven’t experience of working as a team.

4. Opinions of students on the teaching of inquiry method found that overall very satisfied.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)