สภาพและปัญหาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1

Main Article Content

นิพนธ์ ผูกพันธ์
จิณณวัตร ปะโคทัง
เกษม บุญรมย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาจริงในสถานศึกษาตามทัศนะ ของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะสภาพและปัญหาการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น ข้าราชการครู จำนวน 288 คน กำหนดขนาด ของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ของ Krejcie and Morgan ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบ่งออก เป็น 5 ด้าน ด้านส่งเสริม สนับสนุนการปลูกฝัง คุณธรรมนำความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการขยายโอกาสการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่ประชากรวัยเรียน ด้านการยกระดับ คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่มาตรฐานการ ศึกษาของชาติด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมการกระจายอำนาจ ระดับการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการศึกษาซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ตามทัศนะของ ผู้บริหารกับครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การขยายโอกาสการศึกษาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การยกระดับคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐานสู่มาตรฐานการศึกษาของชาติ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ และการบริหารจัดการตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การส่งเสริมการกระจายอำนาจระดับการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความ เข้มแข็งในการบริหารจัดการศึกษา

2. ผลการเปรียบเทียบสภาพและ ปัญหานำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ตาม ทัศนะของผู้บริหารกับครูผู้รับผิดชอบโครงการ โดยรวมไม่แตกต่างกันในรายด้าน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 จำนวน 2 ข้อ ได้แก่ 1) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการ สื่อสารเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ และ 2) การส่งเสริมการกระจายอำนาจระดับการมี ส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการศึกษาโดยผู้บริหารมีความคิดเห็นว่าการดำเนินงานดังกล่าวมีมากกว่า ส่วนอีก 3 ข้อ ไม่แตกต่างกัน

3. ข้อเสนอแนะสภาพและปัญหานำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ตามทัศนะของผู้บริหารกับครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า

3.1) มีปัญหาขาดงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ โดยขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 1 สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนรายหัว

3.2) ควรมีการนิเทศ อย่างจริงจัง เพื่อที่จะทำให้โครงการเกิดความ ต่อเนื่อง

3.3) ต้องการครูที่มีความรู้ด้านการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์มาสอนในรายวิชาเกี่ยวข้อง

3.4) ต้องการความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งด้านงบประมาณและวิชาการ

3.5 ควรจัดอบรมการสอนแบบบูรณาการ เพื่อที่จะเชื่อมโยงไปยังกลุ่มสาระอื่นๆ

3.6) ควรส่งเสริมความรู้เรื่องดิน และการตลาดเพื่อต่อยอดความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

The Conditions and Problems in Application of the Philosophy of Sufficiency Economy in the Schools according to the Opinions of the Teachers in the Schools Attached to Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 1

The objectives of the research were to study and compare the conditions and problems in applying the philosophy of sufficiency economy in the schools according to the opinions of the teachers in the schools attached to Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 1, and to examine the recommendations on the conditions and problems regarding the application of the philosophy of sufficiency economy in the schools as viewed by the teachers under study.

The samples were 288 teachers obtained by a simple random sampling. The sample size was determined by Krejcie and Morgan’s table. The research instrument was a five-rating scale questionnaire with a confidence value equivalent to .97 divided into five parts: promotion and inculcation of virtues, educational opportunity expansion, educational quality elevation, information technology for learning and administration, and promotion of decentralization. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.

The research findings were as follows:

1. As regards the conditions and problems in application of the philosophy of sufficiency economy in the schools attached to Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 1 as viewed by the school administrators and the teachers responsible for the project, it was found that implementation was moderate. The aspect with a maximum value was the educational opportunity for the population with learning age. Secondary were promotion and encouragement of the virtues according to the philosophy of sufficiency economy, elevation of the educational quality to the national educational standard, and use of information technology for learning and administration. The aspect with a minimum value was promotion of decentralization in all sections and strength of educational management.

2. As for a comparison of the conditions and problems of application of the philosophy of sufficiency economy in the schools as viewed by the administrators and the teachers responsible for the project, it was found that there was no difference. Considering the individual aspects, there was difference with a statistical significance of .05 in respect of use of the information technology for learning and management and promotion and encouragement of participation from all parties concerned. No difference was found in three remaining aspects.

3. Concerning the recommendations on the conditions and problems in application of the philosophy of sufficiency economy in the schools attached to Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 1 according to the opinion of the school administrators and the teachers, it was found that

3.1 ) the budget for the operation was insufficient; thus, more budget was required.

3.2) Supervision should be consistently carried out.

3.3) It was necessary for the teachers to be equipped with additional knowledge to be applied in the classroom.

3.4) Cooperation from other agencies were needed.

3.5) Integrated training should be organized to be linked to other units.

3.6) Knowledge on soil and marketing was essential for daily life.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)