ขวัญและกำลังใจของข้าราชการครู ที่โอนย้ายไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ชาคริยา ผูกพันธ์
จิณณวัตร ปะโคทัง
เกษม บุญรมย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจของข้าราชการครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ของระดับขวัญและกำลังใจของข้าราชการครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำแนกตามสถานภาพการทำงาน อายุ เพศ อายุราชการ หรืออายุการทำงาน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 437 คน จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan และสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) แบบเป็น สัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงานด้านหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการด้านสัมพันธภาพในการทำงานด้านความเจริญก้าวหน้า ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ เท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้าราชการครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีความคิดเห็นต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยภาพรวมมีขวัญและกำลังใจ อยู่ในระดับปานกลาง ( \inline \bar{X} =3.04) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า

1.1 ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน อยู่ในระดับมาก ( \inline \bar{X} =3.82)

1.2 ด้านสัมพันธภาพในการทำงาน ( \inline \bar{X} =3.04) ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ในการทำงาน ( \inline \bar{X} =2.99) ด้านค่าตอบแทนและ สวัสดิการ ( \inline \bar{X} =2.89) อยู่ในระดับปานกลาง

1.3 ความเจริญก้าวหน้าอยู่ในระดับน้อย ( \inline \bar{X} =2.47)

2. ข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่มี อายุ เพศ อายุราชการหรือ อายุการทำงาน สถานภาพการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อขวัญและกำลังใจของข้าราชการครู โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นจำแนกตามตำแหน่ง และอายุราชการหรืออายุงานที่แตกต่างกัน พบว่า

2.1 ข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่มีตำแหน่งต่างกัน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน และด้านสัมพันธภาพในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการและด้านความเจริญ ก้าวหน้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

2.2 ข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่มีอายุราชการหรืออายุงานต่างกัน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ในการทำงาน ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน และด้านสัมพันธภาพในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการและด้าน ความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Morale of Government Teachers Transferred to Provincial Administration Offices in Lower Northeastern Region

The objectives of this study were to investigate the level of morale of government teachers who were transferred to work under Provincial Administration Offices in Lower Northeastern Region and to compare of the level of morale of government teachers as classified into work status, age, gender, and length of service.

A total of 437 government teachers, selected by means of a stratified random sampling method, working for Provincial Administration Offices in Lower Northeastern Region were employed as the sample group of the study. The sample size was determined on the table of Krejcie & Morgan. The research instrument was a five-point scale rating survey questionnaire containing 5 aspects namely work environments, function and responsibility, salary and fringe benefit, relationship among work colleagues, and career advancement and yielding the overall reliability coefficient of .95. The statistics including percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test were used in data analysis.

The research findings were as follows :

1. The morale of government teachers working for Provincial Administration Offices in Lower Northeastern Region was found to be moderate ( \inline \bar{X} =3.04). Looking closer at the individual aspects, the following were derived.

1.1 The function and responsibility morale was found to be high ( \inline \bar{X} = 3.82).

1.2 The morale of the teachers involving the relationship among work colleagues ( \inline \bar{X} =3.04), work environments ( \inline \bar{X} =2.99), salary and fringe benefit (\inline \bar{X} =2.89) aspects were found to be moderate.

1.3 The career advancement morale was low ( \inline \bar{X} =2.47).

2. The teachers differed in age, gender, length in service, and work status were found to view the morale of teachers significantly difference at level .01. Particularly, those who were different in work status and length of service viewed morale of the teachers differently in the following aspects.

2.1 The morale of teachers holding work status differently were found to be viewed differently at level .01 of significance in the aspects of work environments, function and responsibility, and relationship among work colleagues whereas salary and fringe benefit and career advancement aspects were significantly viewed difference at level .05.

2.2 The teachers who were different in work status and length of service also viewed morale of the teachers significantly differently at level .01. in the aspects of work environments, function and responsibility, and relationship among work colleagues while salary and fringe benefit and career advancement aspects were viewed significantly difference at level .05.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)