แนวทางการบริหารงานกองลูกเสือสามัญในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

Main Article Content

ศิริพงษ์ ศิริวารินทร์
สมาน อัศวภูมิ
สุวิมล โพธิ์กลิ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารกองลูกเสือสามัญในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) เพื่อสร้างแนวทางการบริหารกองลูกเสือสามัญในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการบริหารงานกองลูกเสือสามัญในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2

กลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้กำกับลูกเสือสามัญในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 3 แห่ง ได้มาโดยวิธีการเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้กำกับลูกเสือสามัญในโรงเรียนบ้านเสาธงใหญ่ โรงเรียนบ้านเวียง (ตุอุปถัมป์) และโรงเรียนบ้านไผ่ล้อม แห่งละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิแบบมาตราส่วน ประมาณค่าวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และนำเสนอผลการศึกษาโดยวิธีพรรณนา (Descriptions) และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามความคิดเห็นโดยใช้สถิติค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการดำเนินงานการบริหารกอง ลูกเสือสามัญในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 มีการบริหารงานกองลูกเสือสามัญ ในโรงเรียน 6 งานได้แก่ งานจัดตั้งกองลูกเสือ งานหลักสูตรและการเรียนการสอน งานพิธีการทางลูกเสือ งานทะเบียน งานการเงิน และ งานส่งเสริมกิจการลูกเสือ ยังไม่เป็นไปตามระเบียบ สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ พุทธศักราช 2550 กล่าวคือ งานจัดตั้งกองลูกเสือ ได้จัดตั้งตามเกณฑ์ และข้อบังคับสำนักงาน ลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการตั้งกองลูกเสือแต่เป็น กองลูกเสือแบบไม่สมบูรณ์ เพราะว่าเป็นโรงเรียน ขนาดเล็กมีจำนวนลูกเสือไม่เพียงพอ ในการแต่งตั้ง ผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือ บุคลากรมี น้อยจึงไม่สามารถแต่งตั้งได้ครบทุกตำแหน่ง งานหลักสูตรและการเรียนการสอน มีการ จัดทำหลักสูตรกิจกรรมลูกเสือ มีการจัดทำ แผนการสอนเป็นรายสัปดาห์ มีการเปิดและปิดประชุมกองลูกเสือ แต่เนื่องจากบุคลากร ไม่เพียงพอจึงทำให้การเรียนการสอนไม่ตรงตาม หลักสูตร ไม่มีการเรียนการสอนในหลักสูตรวิชา พิเศษลูกเสือสามัญ กิจกรรมเพื่ออุดมคติของ ลูกเสือ และการวัดและประเมินผลตาม กระบวนการลูกเสือ ครูขาดทักษะในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ งานพิธีการทางลูกเสือ พบว่าขาดการประชุมนายหมู่เพราะขาด ความเข้าใจในกิจกรรมทางลูกเสือ การจัดพิธีการ เข้าประจำกองลูกเสือสามัญและพิธีการ ส่งตัวลูกเสือสำรองไปเป็นลูกเสือสามัญ พิธีส่งตัวลูกเสือสามัญไปเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ไม่ได้จัดทำเนื่องจากขาดบุคลากรงานทะเบียน พบว่า ได้มีการจัดทำเอกสารแบบพิมพ์ลูกเสือตามแบบสำนักงานลูกเสือแต่เนื่องจากลูกเสือ ของแต่ละโรงเรียนมีจำนวนน้อยงบประมาณ มีจำกัดจึงใช้แบบพิมพ์ลูกเสือ (ลส.) ต่างๆ ไม่ครบ งานการเงินพบว่า ขาดแคลนงบประมาณในการ ที่จะนำมาจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ มีการระดมทุนสนับสนุนจากผู้ปกครองของ นักเรียนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความ ช่วยเหลืองานส่งเสริมกิจการลูกเสือพบว่า มีแนวปฏิบัติในการประสานงานกับองค์กรต่างๆ เพื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจการลูกเสือโรงเรียน แต่ยังมีหน่วยงานภายนอกและชุมชนบางส่วนยังไม่มี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกับกระบวนการลูกเสือ และไม่เห็นความสำคัญของกิจการลูกเสือจึงไม่ได้รับการสนับสนุน แต่มีการสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับชุมชน และพ่อแม่ผู้ปกครอง

2. การสร้างแนวทางการบริหารกองลูกเสือสามัญในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 มีขอบเขตการบริหารงานกองลูกเสือสามัญ ในโรงเรียน 6 งาน คือ มีกรอบในการดำเนินงาน ดังนี้

2.1) งานจัดตั้งกองลูกเสือประกอบด้วย การจัดตั้งกลุ่ม/กองลูกเสือสามัญในโรงเรียนการแต่งตั้งผู้กำกับและรองผู้กำกับกองลูกเสือ สามัญในโรงเรียน และการจัดตั้งหมู่ลูกเสือสามัญในโรงเรียน

2.2) งานหลักสูตรและการเรียน การสอนประกอบด้วย การจัดทำหลักสูตร กิจกรรมลูกเสือสามัญ การจัดกิจกรรม การเรียนการสอนลูกเสือสามัญตามวิธีการลูกเสือ การจัดทำหลักสูตรวิชาพิเศษลูกเสือสามัญ การจัดกิจกรรมเพื่ออุดมคติของลูกเสือและ การวัดและประเมินผล

2.3) งานพิธีการทางลูกเสือ ประกอบด้วย การประชุมนายหมู่ การจัดพิธี เข้าประจำกองของลูกเสือสามัญ การจัดพิธีส่งตัว ลูกเสือสำรองไปเป็นลูกเสือสามัญ และการจัดพิธี ส่งตัวลูกเสือสามัญไปเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

2.4) งานทะเบียน ประกอบด้วย การจัดทำแบบพิมพ์ลูกเสือ ลส. ต่างๆ การจัดทำ แผนปฏิบัติงานประจำปีเกี่ยวกับกิจกรรม ลูกเสือสามัญ การจัดทำบัญชีรายชื่อลูกเสือสามัญ การจัดทำบันทึกรายงานการประชุม นายหมู่ และการรายงานผลการดำเนินงานปฏิบัติ กิจกรรมลูกเสือสามัญต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.5) งานการเงินประกอบด้วย การวางแผน งบประมาณ การเก็บเงินค่าบำรุงลูกเสือ และการควบคุมเงินรายได้กลุ่ม หรือกองลูกเสือ

2.6) งานส่งเสริมกิจการลูกเสือประกอบด้วยการประสานงานกับชุมชน/หน่วยงานภายนอกการนำกองลูกเสือสามัญร่วมบำเพ็ญประโยชน์ การระดมทุนจากชุมชน/หน่วยงานภายนอก เพื่อสนับสนุนกิจกรรมลูกเสือสามัญ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานอื่นๆ และพ่อแม่ ผู้ปกครอง และการบันทึการประชุมผู้บังคับบัญชา ลูกเสือสามัญของโรงเรียน

3. การประเมินแนวทางการบริหารงาน กองลูกเสือสามัญในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 พบว่า ความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิเฉลี่ยโดยรวม มีระดับความเห็นด้วย ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 60 ขึ้นไป ทุกงาน และผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้การรับรอง ร้อยละ 100

 

A Guideline for Administrative Model troop of Boy Scouts in Small-sized Schools of the office of Ubonratchathani Educational Service Area 2

The research aimed 1) to study the operating conditions of the Boy Scouts administration in the small-sized schools under the jurisdiction of Ubon Ratchathani’s primary education educational service area 2, 2) to establish and 3) propose the model of the Boy Scouts administration in the small-sized schools.

The target groups and informants used in the present research were the school administrators and the controllers of the Boy Scouts in three schools under the jurisdiction of Ubon Ratchathani’s primary education educational service area 2 in the school year 2012. The subjects, who were selected from the schools of Ban Saothongyai, Ban Wiang and Ban Pailom, were derived by a purposive sampling. Out of six subjects, three were administers and three were the controllers of the general scouts. The research instruments were a structured interview and the questionnaire on the opinions from the experts. Data was analyzed by means of content analysis and the result was presented by a descriptive method.

The research findings were as follows:

1. Considering the activities of the Boy Scouts administration in the schools, the following activities were undertaken: the setting up of the scout unit, the curriculum and instruction, the scout functions, records, financial and scout-promoting affaires. However, It’s not the Executive Committee of the Boy Scouts national Buddhist calendar 2007. Although the scout units were established according to the regulations, a number of the scouts were insufficient. In the process of appointing the controllers, it was found that there were problems. The reason was also related to the inadequate personnel. As regards the curriculum and instruction, it was found that the scout activities were undertaken. However, due to insufficient personnel, the instruction was not up to the set targets. Teachers lacked skills in the scout activities. The scout functions were not carried out thanks to the lack of the personnel. As for the financial affairs, a budget was inadequate to secure the materials necessary for the activities. With respect to the promotion of the activities, it was found that there were guidelines in coordinating with other bodies to promote the activities. However, there were some agencies and some communities that disagreed with the activities; thus, lack of support resulted.

2. Considering the formation of the model of the general scout administration, there were six activities to be undertaken: The working framework was as follows:

2.1) Creation of the scout units consisted of formation of the group/ division of the Boy Scouts unit in schools, an appointment of the controllers and their assistants and the formation of the scout association.

2.2) The curriculum and instruction was composed of a curriculum on the general scout activities, the activities in the classroom Boy Scouts to side with the way to your tiger, a special curriculum on scouts, organization of scout activities and measurement and evaluation.

2.3) Scout procedures consisted of meeting, deployment of the scouts, promotion of the scouts to the Boy Scouts, and promotion of the Boy Scouts to the senior ones.

2.4) Records comprised: making the different types of a model, making a yearly operating schedule, doing the name list of Boy Scouts, noting down the details of the meeting, and reporting the outcome of the operation to the parties concerned.

2.5) Finance consisted of the budget planning, the bill using the Boy Scouts, and controlling the group earning or revenue.

2.6) The scout activity promotion consisted of the following: coordination with other agencies, doing the common benefits to the public, mobilizing the fund from communities/ agencies, building a good relation with other bodies and recording the details of the meeting.

3. With the proposal of the model of the administration considered, it was found that the overall opinion of the experts was in agreement (97.33%); they were not sure (6.67%) and they disagreed (12%). The opinion scale was above the set 60 % in all aspects. All experts had approved the proposed model.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)