การพัฒนาการดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านหนองแสง อำเภอเดชอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Main Article Content

รักพงษ์ บุญศิริ
จิณณวัตร ปะโคทัง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนที่มีความดีเด่นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 2) เพื่อพัฒนาการ ดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหนองแสง อำเภอเดชอุดม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศและพัฒนาการจัดการ เรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหนองแสง อำเภอเดชอุดม เป็นการศึกษา และวิเคราะห์จากการศึกษาภาคสนาม

ผลการวิจัยพบว่า

1) การดำเนินงานวิชาการด้านการนิเทศ และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนที่ดีเด่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 5 ประจำปี 2550 -2553 จำนวน 5 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนนาคสมุทรสงเคราะห์ โรงเรียนประชาสามัคคี โรงเรียนเมืองเดช โรงเรียนบ้านแขมเจริญ และโรงเรียนดำรงสินอุทิศ ผลการศึกษาด้านการนิเทศ ทุกโรงเรียนมีการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการของครู ใช้การวิเคราะห์ระบบงาน มีการทำงาน เป็นทีม ตั้งแต่การวางแผนร่วมกัน เพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มีการปฏิบัติงานตามแผนใช้กระบวนการนิเทศที่หลากหลาย เมื่อสิ้นปีการศึกษา มีการสรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

2) ด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้มีการศึกษาหลักสูตรจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งบูรณาการแบบโครงงาน และ การวิจัยในชั้นเรียน ครูได้วิเคราะห์หลักสูตร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ของตนที่รับผิดชอบ และ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผู้บริหารส่งเสริม ให้ครูจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลาย มีการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีทั้งในและนอก โรงเรียน จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการวัดและประเมินผลจากสภาพจริง ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับระดับชั้นและตัวผู้เรียน

3) ด้านการการนิเทศและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหนองแสง หลังจากศึกษาโรงเรียนดีเด่นทั้ง 5 โรงเรียนแล้วมีการปรับประยุกต์ใช้กับโรงเรียนบ้านหนองแสง โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนา 3 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การศึกษาดูงาน 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 3) การนิเทศภายใน ทำให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีการพัฒนางานวิชาการด้านการนิเทศ และ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง แต่มีปัญหาด้านการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงต้องการปรับปรุงแก้ไขด้านนี้ให้ดีขึ้นโดย การพัฒนาในวงรอบที่ 2

ใช้กลยุทธ์ “การนิเทศภายใน” เน้นการ ปรับปรุงแผนการเรียนรู้จากบันทึกผลหลังเรียน และพัฒนาการจัดการเรียนรู้รวมถึงเทคนิค การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการพัฒนาสื่อเน้นการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน และโครงงาน ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ในภาพรวมครูโรงเรียนบ้านหนองแสง มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานวิชาการด้าน การนิเทศก์และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของ โรงเรียนในระดับมาก

 

Developing Academic Affairs Operation of Supervision and Development of Learning and Instruction at Ban-nongsang School, Amphoe Det Udom, Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 5

The purpose of this study were to three fold: 1) to investigate the development of academic performance on supervision and successful learning management of the schools in Det-Udom district under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 5, 2) to develop the development of academic performance on supervision and learning management of Ban Nong Saeang School, and 3) to study the satisfaction of the development of academic performance on supervision and learning management of Ban Nong Saeang School. It was a field study analysis.

The research findings were as follows:

1. Five schools namely Nak Samut Songkroh, Pracha Samakki, Mueang det, Ban Khaem Charoen, and Damrongsin Uthit schools were found to be outstandingly successful in the development of academic performance on supervision and successful learning management during the year 2553-2555 B.E. As to the supervision, these schools investigated current state and problems and teacher’s needs and applied SWOT technique to their work system analysis. Teamwork, participatory planning in school activities and plans, encouragement of plan implementation were significant employed in their operation. Various techniques in supervision including summing up and systematically reporting at the end of academic year were also employed. For the successful development of learning management, the study of 2544 B.E. Basic Education Curriculum was carried out. Student-center teaching approach, integration of work project and classroom research, analysis of subject strand curriculums and analysis of individual students done by teachers were promoted. School administrators promoted learning management of the teachers with various strategies. Materials and internal and external learning resources were encouraged and creation of school environments contributing to learning management as well. Measurement and authentic assessment appropriate for student level was also enhanced.

2. For the development of academic performance on supervision and learning management of Ban Nong Saeang School, developmental strategy was employed through three activities including 1) study field trip, 2) operational seminar, and 3) internal supervision. These activities improved the skills of co-researchers in terms of supervision and learning management. However, since particular problems arose from student-centered approach application, internal supervision was needed to be applied in the 2 round of development. This was done through teaching plan improvement including the improvement of the learning management techniques, materials, and work-profile and project work assessment. 3. For the satisfaction of the development of academic performance on supervision and learning management of Ban Nong Saeang School, a high level of satisfaction of all the teachers was found. Also, the given activities of supervision and learning management led the teacher teams cooperated better in school academic affairs and problem solutions. There were found to be more confident in school learning management.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)