การศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29

Main Article Content

กิตติโชติ พิมพ์เพ็ง
สุวิมล โพธิ์กลิ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 29 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู ในด้านการบริหารจัดการการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการบริการงานวิชาการ โดยจำแนกตามระดับชั้นที่สอง ประสบการณ์การสอน ประสบการณ์การทำงานของผู้บริหารขนาดของโรงเรียน และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ ของข้าราชการครูเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อสมรรถนะ การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครู ผู้สอนจำนวน 351 คน ซึ่งเป็นข้าราชการครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน ใช้ t–Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One–way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยที่ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการการเรียนรู้ และด้านการส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ และด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะในการ บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ข้าราชการครูที่สอนระดับชั้นต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การสอนต่างกัน ประสบการณ์ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะ การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลาง มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างจากข้าราชการครูที่มี ผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

A Study Of Academic Management Competencies Of School Administrators the Secondary Educational Service Area Office 29

The purpose of this research is to study the academic management competencies of the school administrators in the Secondary Educational Service Area Office 29. The research surveys the perceptions and opinions of teachers on academic management competencies of the school administrators in four areas: (1) learning and teaching management; (2) curriculum development; (3) learning and teaching supports; and (4) researches in support of educational development. The competency in each area is evaluated according to four variables (1) teaching level, (2) teacher’s teaching experience, (3) school administrator’s experience, and (4) school sizes. The sampling frame for the research comprises all the teachers who are teaching in schools under the administration of the Secondary Educational Service Area Office 29 for the Fiscal Year 2013.The sample size is 351. A questionnaire with 5-level Likert scale is used for data collecting. The statistical analysis used in the research includes sample means, percentiles, standard deviations, t-test, and one-way ANOVA. The research’s overall confidence level is 0.98.

The research findings were as follow:

1. The overall school administrator’s academic management competency for each area of the study (learning & teaching management, curriculum development, learning & teaching supports, and researches in support of educational development) are rated ‘highest’ by the respondents.

2. A comparative analysis of school administrator’s competencies in academic management finds that

2.1 Junior secondary level teachers and senior secondary level teachers share the opinion that there are no differences in the overall school administrator’s competencies.

2.2 learning & teaching management, the competencies are different at the confidence level of test at 0.01.

2.3 Teachers with different level of teaching experiences when an overall competency is considered, the competencies are different at the significance level of test at 0.01.

2.4 Teachers teach at different school sizes have the opinions that administrator’s competencies when overall competencies are considered, they are different at the level of test at 0.05; that is, teachers belong to midsize schools have different opinions from teachers who teach in large and larger school sizes

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)