ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี ศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเปรียบเทียบ ตามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีในศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำแนกตามตาม เพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ การทำงาน และเพื่อค้นหาแนวทางการบริหารงาน แบบผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี ที่มีประสิทธิผลและเหมาะสมกับบริบทศูนย์การ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูและผู้บริหารสตรี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี 10 อำเภอ จำนวน 196 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2555 ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบง่าย จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของ Likert scale จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ เท่ากับ .81 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน ด้วย t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในจังหวัดัอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยภาวะผู้นำด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง
2. ครูที่มีเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์ การทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางที่เหมาะสมในการบริหาร งานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับอำเภอ เห็นว่า ผู้บริหารควรมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้ครบทั้ง 4 ด้านคือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และแนวทางการดำเนินงานของศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอที่มี ประสิทธิผลได้แก่การทำงานเป็นทีมงาน
The Transformational Leadership of Non–Formal Education Women Directors in Non – Formal Education Center, Ubonratchathani Province
The purpose of this research were to study the transformational leadership of Non–formal education women directors in Non–formal education center, Ubonratchatani province and compare the opinions of the teachers regarding this as they were classified by their genders, levels of education, and lengths of service. The population used in this study included 196 people in 10 districts of Ubon Ratchathani. The sample group of this study included 136 teachers as Non – formal education center year 2012 , selected by means of simple random sampling. The instrument used in the data collecting process was a 40 item questionnaire with a five–level Likert Scale, which had the reliability level at.81. Statistic procedures employed in the data analysis were percentage, arithmetic mean, standard deviation, and t–test.
The research findings were as follows :
1. The overall transformational leadership women directors of Non–formal education in Non–formal education center at Ubonratchatani province were at medium level, with the idealized influence high level, inspirational motivation , intellectual stimulation and individualized consideration medium level.
2. The teachers of different sexes, different levels of position, and different experience. Overall they did not have significantly different opinions about the overall transformational leadership women directors of Non–formal education center.
3. The results of brainstorming techniques. efficiency appropriate management of Non–formal education center is the administrator must to have all four. Idealized influence of Charisma Leadership, Inspiration Motivation, Intellectual Stimulation. And Individualized Consideration and Stakeholders requires teamwork.