สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดมุกดาหาร

Main Article Content

ศณิตาภรณ์ คนไว
อารี หลวงนา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการข้าราชการครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัด มุกดาหาร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดมุกดาหาร จำแนกตามเพศ ตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของข้าราชการครูในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหาร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารและข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดมุกดาหาร ปีการศึกษา 2555 ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น แล้วกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตาราง ของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 371 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และ การทดสอบค่า F

ผลการวิจัยพบว่า

1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดมุกดาหาร ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สมรรถนะการบริการที่ดี รองลงมา ได้แก่สมรรถนะการทำงานเป็นทีม และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ สมรรถนะด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

2. การเปรียบเทียบสมรรถนะ ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามเพศ ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่พบว่าผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป มีความคิดเห็นแตกต่างกับผู้ที่มีระดับ การศึกษาตํ่ากว่าปริญญาโท และจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. การศึกษาข้อเสนอแนะของข้าราชการครู สรุปได้ดังนี้ คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ควรมีการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารอย่างจริงจัง และต่อเนื่องให้แก่ผู้บริหารทุกระดับ มีการวิเคราะห์สมรรถนะที่ต้องการพัฒนาอย่างเป็นระบบ มีการประเมินสมรรถนะผู้บริหารและ นำผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนา มีการกระตุ้นและกำหนดรูปแบบวิธีการพัฒนาที่หลากหลาย การบริการที่ดี ผู้บริหารควรเอาใจใส่การจัดการศึกษา ให้เต็มศักยภาพและเต็มเวลาในการให้บริการแก่ผู้รับบริการ มีการพัฒนาตนเองด้วยการส่งเสริมสนับสนุน ยกย่อง สร้างแรงจูงใจผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลงานดีเด่น รวมทั้งควรจัดทำแผนพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับ แผนกลยุทธ์การทำงานเป็นทีม ผู้บริหารควรใช้ ศักยภาพและเสริมแรงให้ครูทำงานร่วมกัน อย่างต่อเนื่องด้วยสัมพันธภาพอันดี และวางตัวให้เป็น แบบอย่างที่ดีเพื่อเปิดโอกาสให้ครูได้ใช้ความคิด ความสามารถและมีอิสระในการทำงาน ส่วนด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครูควรพัฒนาสมรรถนะและควรเคารพในเสรีภาพ กฎระเบียบ รวมทั้งมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและ เป็นผู้นำนักบริหารที่มีคุณธรรมจริยธรรม

 

Competency of School Administrators in the Opinions of Teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 22, Mukdahan Province

The purposes of this study were to investigate the competency of school administrators in the opinions of teachers under the Office of Secondary Educational Service Area 22, Mukdahan province, to compare the opinions of the teachers on the bases of gender, work position, educational level, and work experience, and to obtain the advice from the sampled teachers.

The total of 371 respondents including administrators and teachers working for the Office of Secondary Educational Service Area 22, Mukdahan province in 2012 academic year, selected by means of stratified random sampling method were used as the sample group of the study. The sample group size was determined by the table of Krejcie and Morgan. A five-point rating scale survey questionnaire containing 60 question items and giving the overall reliability coefficient of .95 was employed in data collection. Mean, percentage, standard deviation, t-test, and F-test were used in data analysis. The test of Scheffe was used when statistical difference in pairs was found.

The research findings were as follows:

1. The competency of school administrators was found to be at a high level in all aspects. Service competency aspect was rated the highest level, followed by teamwork competency, moral obligation and professional ethics aspects at the lowest levels.

2. The comparison of the competency of school administrators showed no difference on gender analysis basis. However, the differences were found among those differing in positions and educational levels. School administrators and teachers differently viewed the competency of school administrators and so did the respondents holding postgraduate degrees and undergraduate degrees, and those differing in work experience as well.

3. The advice obtained from the respondents included the following. For the achievement-oriented aspect, the development of administrators at all levels should be taken seriously and continuously; an analysis of competency needed to be improved should be systematically done; an evaluation of the competency and its results should be used in development planning; an encouragement and a variety of development model should be considered. Concerning the service mind aspect, full potential and fulltime services should be seriously performed. For self-development aspect, promotion, recognition, and motivation should be given to the administrators found in outstanding work performance; development plans of administrator, of teachers and educational personnel, and yearly action work plan should be met. Involving teamwork aspect, the administrators should encourage teachers to work in team, be good examples and create good relationship with all subordinates; freedom and creativity in work should be promoted. For moral obligation and professional ethics, the administrators should abide by regulations, respect and have positive attitudes on subordinates and be the leaders of morality and ethics.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)