แนวการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคำไฮใหญ่
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการ : กรณีศึกษาองค์การ บริหารส่วนตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหาร ส่วนตำบลคำไฮใหญ่ (2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดคำไฮใหญ่ (3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดแสงสว่าง (4) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดหนองแล้ง (5) ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กวัดหนองหิน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัด นักวิชาการศึกษา หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 13 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบ บันทึกการสัมภาษณ์ ศึกษาเอกสารหลักฐานจริง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยเชิงบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการแนวการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลคำไฮใหญ่ อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานีนั้นเป็น ดังนี้ 1) ด้านการบริหารงาน พบว่า ด้านการบริหาร งานมีปัญหาการจัดซื้อ สื่อ วัสดุอุปกรณ์การศึกษา ที่ไม่ตรงกับความต้องการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ด้านงบประมาณได้รับงบประมาณอุดหนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ค่าอาหารเสริม (นม) ค่าอาหารกลางวัน ค่าวัสดุการศึกษาตามรายหัว ค่าพาหนะนำส่งเด็กไปสถานพยาบาล แต่ ยังขาดงบประมาณจัดกิจกรรมโครงการภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การบริหารงานการเงินและพัสดุไม่ชัดเจน การเบิกจ่ายงบประมาณตามขั้นตอนล่าช้า 3) ด้านการบริหารงานบุคคล มีปัญหา ด้านการอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การประเมิน 4) ด้านผลการปฏิบัติงานแบบระบบอุปถัมภ์ และการบริหารจัดการ พบว่าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นในด้านการบริหารจัดการงบประมาณ วิชาการ และบุคลากร ทำให้โครงสร้างการบริหารจัดการภายในไม่เป็นระบบ เพิ่มภาระงานแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและขาดความเป็นเอกภาพ
2. แนวการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่พบในการวิจัยครั้งนี้ เป็นดังนี้ 1) แนวการ ดำเนินงานด้านการบริหารงานควรมีการรวมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือยุบรวมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่วนการอบรมเลี้ยงดู ควรจัดประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีวาระตำแหน่ง 2 ปี 2) แนวการ ดำเนินงานด้านการบริหารงบประมาณ ควรได้รับเงินอุดหนุนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และรายได้จากท้องถิ่น ส่วนแนวทางการดำนินงานด้านงบประมาณเงินรายได้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในด้านการจัดหาสื่อ หนังสือ วัสดุ อุปกรณ์การเรียน และอื่นๆที่เกี่ยวข้องต้องยึดแนวทางการดำเนินงานการเบิกจ่ายงบประมาณ 3) แนวการ ดำเนินงานด้านบริหารงานบุคคลควรให้ความสำคัญกับการกำหนดตำแหน่งอัตราบุคลากร แนวการเลือกสรรการปรับสถานภาพแนวการประเมิน ผลการปฏิบัติงาน แนวการพัฒนาบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 4) แนวการดำเนินงานด้านบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรมีรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในด้านการบริหารงาน บุคลากร งบประมาณและงานวิชาการเฉพาะของตน
3. การนำเสนอแนวทางการดำเนินงานศูนย์นั้น พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่เห็นด้วย กับแนวทางที่นำเสนอ โดยเฉพาะเรื่องการย้ายรวมหรือยุบศูนย์ขนาดเล็ก แนวการจัดการเรียนรู้ของเด็ก การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารงานบุคคล และการบริหารศูนย์ที่มีรูปแบบเฉพาะของตน โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ และการบริหารศูนย์ให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน
A Guideline on the Operation of Early Childhood Development Center according to Educational Administration Standards of the Local Administration Office: A Case Study of Khumhaiyai Subdistrict
The research aimed to study the conditions and problems on the Operation of Early Childhood Development Center according to Educational Administration Standards of the Local Administration Office: A Case Study of Khumhaiyai Subdistrict. The target groups were 1) the early childhood development center of TambonKumhaiyai Administrative Organization, 2) the early childhood development center of Wat Kumhaiyai, 3) the early childhood development center of Wat Sangsawang, 4) The early childhood center of Wat Nonglang and the early childhood development center of Wat Nonghin. The informants in the research were the mayors of the local administrative organization, educators, heads of the early childhood centers and the teachers totaling 13. Data were collected by the interview, a documentary study. The data were analyzed and presented in a descriptive method.
The research findings were as follows :
1. Current conditions and wants for the guidelines for running the early childhood development centers were as follows. 1) On the administration, procuring and purchasing materials and equipment were not in line with the actual needs. 2) On the budget allocated, the budget was provided by the Local Administrative Department to be used for lunch, educational materials, transportation expenses. However, there were no budget for the project activities carried out by the centers. Financial and material administrations were not transparent. 3) On personnel administration, the problems were found to be related to training and development which were crucial to the operation. 4) On management, the problems developed as the centers were transferred to the local administrative organization. As a result, there were problems as the local organization was not in a position to efficiently administer.
2. The following were the guidelines. 1) For the administration to be efficient, some centers were to be merged. Learning and experience promoting activities should be carried out. 2) As for the budget administration, the budget should come from the local administrative organization and local income. 3) As regards the personnel administration, priority should be given to the personnel positions, recruitment system, status adjustment and performance guidelines. 4) Considering the performance of the centers under study, there should be a model for the efficient administration.
3. Experts agreed with the proposed guidelines, especially the merging. Or dissolution of the some centers, learning activities, procuring and hiring, personnel administration. They gave an additional advice that the executive committee should be communally recognized.