การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

ยอแสง นาคกระแสร์
อนุศักดิ์ เกตุสิริ

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 และเพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตร สถานศึกษาของข้าราชการครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำนวน 310 คน แบ่ง ออกเป็น ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนประถม ศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 54 คน ผู้บริหารและครู ผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง จำนวน 112 คน ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .97 และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความ แปรปรวนและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของ Scheffe’

ผลการวิจัยพบว่า

1. การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ด้านการดำเนินการบริหารหลักสูตร (การใช้หลักสูตรสถานศึกษา) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลด้านการสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษา และด้านการปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

2. การเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3 เมื่อจำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา

2.1 ข้าราชการครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหา การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ไม่แตกต่างกัน

2.2 ข้าราชการครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ไม่แตกต่างกัน

2.3 ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน แต่มีปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

2.4 ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3 ไม่แตกต่างกัน

 

A Study of Conditions and Problems in a Curriculum Administration of the Teachers under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3

The research aimed to study and compare the conditions and problems in a curriculum administration in the schools as faced by the teachers affiliated to Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3 as classified by positions, educational qualifications, working experiences, and school sizes.

The samples in the study were 310 teachers affiliated to Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3. The samples were divided into 54 administrators and teachers from small-sized schools, 112 administrators and teachers from medium-sized schools and 144 administrators and teachers from large sized schools. The sample size was determined by Krejcie and Morgan’s formula and derived by a stratified random sampling. The research instrument was a rating scale questionnaire of 50 items whose confidence value was equivalent to .97. Statistics used were mean, standard deviation, variance analysis and Scheffe’s method.

The research findings were as follows:

1. As regards the conditions and problems as faced in a curriculum administration by teachers affiliated to Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3, the performance was high in the following aspects: preparation, a curriculum making, planning for using the

curriculum, a curriculum administration, supervision, monitoring, follow up and evaluation, summary of the performance, improvement and development of a curriculum administration.

2. A comparison of the problems and conditions in a curriculum administrationas faced by the teachers affiliated to Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3 according to positions, educational qualifications, working experiences and school sizes could be described as follows.

2.1 The teachers of different positions did not have a different opinion on the conditions and problems in a curriculum administration.

2.2 The teachers of different educational qualifications did not have a different opinion on the conditions and problems in a curriculum administration.

2.3 The teachers of different working experiences did not have a different opinion the curriculum administration. But they had problems in a curriculum administration with a statistical significance of .05.

2.4 The teachers who worked at schools with different sizes did not have a different opinion on the conditions and problems in a curriculum administration.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)