ปัจจัยและรูปแบบการบริหารงานศิษย์เก่าของโรงเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

ปาริชาติ กมลยะบุตร
นพดล เจนอักษร

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยการบริหารงานศิษย์เก่า 2) รูปแบบการบริหารงาน ศิษย์เก่า และ 3) ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารงานศิษย์เก่าของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างจานวน 94 โรง ได้จากประชากรโรงเรียนมัธยมศึกษาเฉพาะที่มีสมาคมศิษย์เก่า จานวน 1,417 โรง เลือกตัวอย่างด้วย วิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งประเภท กาหนดผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ สามคนคือ ผู้อานวยการ รองผู้อานวยการ และนายกสมาคมศิษย์เก่า รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 282 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น และ แบบสอบถามเพื่อยืนยันผลการวิจัย สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสารวจ การวิเคราะห์เส้นทาง และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการบริหารงานศิษย์เก่ามี 5 ปัจจัย คือ 1) การจัดองค์กร 2) สื่อสังคมและเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร 3) แบรนด์และความผูกพัน 4) บุคลากร และ 5) งบประมาณและการเงิน

2. รูปแบบการบริหารงานศิษย์เก่าของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์กัน ของปัจจัยทั้ง 5 อธิบายได้โดยสมการโครงสร้างรวม 4 สมการ และรูปแบบมีความสอดคล้องกันกับข้อมูลเชิง ประจักษ์ในระดับดีมาก

3. ผลการยืนยันปัจจัยและรูปแบบการบริหารงานศิษย์เก่าโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่ามีความถูกต้อง มีความเหมาะสม และสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ ทุก รายการ ยกเว้นในเรื่องความเป็นไปได้ของปัจจัยด้านการจัดองค์กร ที่ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง มีความเห็นแตกต่างจากกลุ่ม

 

Factors and Model of Alumni Administration in Secondary School

The purposes of this research were to study : 1. the factors, 2. the model, and 3. the results confirming of the model. The sample size of 94 schools were randomly selected by multi stage sampling and stratified random sampling from 1,417 secondary schools which have alumni association. There were 3 respondent in each sample unit ; school director, deputy school director and chairman of alumni association, totally 282 respondents. The tools used for this research were; unstructured interview, opinionnaire, and questionnaire. The statistical used were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis, path analysis, and content analysis. The results were as follows ;

1. The factors of alumni administration were; 1) organizing, 2) social media and information and communication technology, 3) bland and commitment, 4) human resource, and 5) budget and finance.

2. The model of alumni administration was found and explained by 4 structure equations, significantly with the empirical data at the excellence level.

3. The confirming results of the model was found that 100 percents of the experts supported and confirmed of correctly, appropriation and usefulness of the model accept the possibility of the organizing factor that one expert do not agree with.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)