การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4

Main Article Content

สุวัฒน์ ศิรินัย
จิณณวัตร ปะโคทัง

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 2) เพื่อเปรียบเทียบ สภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จาแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้คือผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ปีการศึกษา 2554 แยกเป็นผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 44 คน ผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลาง 79 คน และผู้บริหารโรงเรียน ขนาดใหญ่ 12 คน รวม 135 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง

2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4

2.1 ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ไม่แตกต่างกัน

2.2 ผู้บริหารที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีสภาพการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ไม่แตกต่างกัน

2.3 ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน มีสภาพการบริหารงบประมาณแบบ มุ่งเน้นผลงานด้านการวางแผนงบประมาณและด้านการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้างแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Outcome-Oriented Budget Administration of the School Administrators under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 4

This study aimed to 1) investigate the state and problems in administering the outcome-oriented budget of the administrators under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 4, 2) compare the state and problems in administering the outcome-oriented budget of the administrators, and 3) find out the guidelines in developing the administration of the outcome-oriented budget of the administrators. A total of 135 respondents working for Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 4 in 2011 academic year including 44 administrators from small-sized schools, 79 from medium-sized schools, and 12 from large-sized schools, selected by means of a simple random sampling method, were employed as the sample group of the study. A 5-point rating scale survey questionnaire was used in data collection. Means, percentage, standard deviation, t-test and F-test were used in data analysis.

The research findings were as follows:

1. The state of the administration of the outcome-oriented budget of the administrators under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 4 was found to be at a moderate level.

2. The comparison of the state of administration of the outcome-oriented budget of the administrators were found as follows:

2.1 The administrators differing in gender were found not to differently view the state of administration of the outcome-oriented budget of the administrators at a significant level.

2.2 Those differing in educational level were found not to differently view the state of administration of the outcome-oriented budget of the administrators at a significant level.

2.3 Those working in school with different size were found to differently rate the state of administration of the outcome-oriented budget of the administrators at level .05 of significance.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)