การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลผู้บริหารตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

Main Article Content

ณรงค์ บำรุงวงศ์
จิณณวัตร ปะโคทัง

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลผู้บริหารตาม ความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 2) เพื่อ เปรียบเทียบสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลผู้บริหารตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 จำแนกตามอายุ เพศ และขนาดของโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษา แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลผู้บริหารตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือข้าราชการครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 142 คน และ ครูปฏิบัติการสอน จานวน 327 คน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 469 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง สำเร็จรูปของ Krejcie And Morgan ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลผู้บริหารตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) กรณีพบความแตกต่าง ดำเนินการเปรียบเทียบความแตกต่าง รายคู่ด้วยวิธี LSD

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลผู้บริหารตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลผู้บริหารของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

2.1 ข้าราชการครูที่มีเพศที่ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยรวมไม่แตกต่างกัน

2.2 ข้าราชการครูที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยรวมไม่แตกต่างกัน

2.3 ข้าราชการครูที่มีสังกัดขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารตาม หลักธรรมาภิบาลผู้บริหาร สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

3. แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลผู้บริหารตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3

3.1 หลักนิติธรรม 1) ผู้บริหารสถานศึกษา กำหนด กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้มี ความสะดวก รวดเร็วแต่การปฏิบัติงาน 2) ผู้บริหารสถานศึกษากากับดูแลและส่งเสริมให้บุคลกรประพฤติตน ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่กาหนดไว้ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการกำหนด กฎระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานร่วมกัน

3.2 หลักคุณธรรม 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรปลูกฝังจิตสานึกให้กับเจ้าหน้ามีการปฏิบัติงาน ที่ยึดหลักความเป็นธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต 2) ผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ปลูกฝังให้บุคลากรมีความรักสามัคคีกัน

3.3 หลักความโปร่งใส 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดระบบการควบคุมภายในได้มาตรฐาน ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่โปร่งใส 2) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายใน สถานศึกษา

3.4 หลักการมีส่วนร่วม 1) เจ้าหน้ามีส่วนในการร่วมรับรู้ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วม ปฏิบัติงานต่อผู้บริหารสถานศึกษาได้ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานและมีทักษะ ประสบการณ์ในกฎระเบียบใหม่ ๆ เพื่อให้สถานศึกษามีการพัฒนา 3) เจ้าหน้าที่ควรมีการปฏิบัติงานเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน

3.5 หลักความรับผิดชอบ 1) เจ้าหน้าที่ควรมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นสาคัญ 2) เจ้าหน้าที่ควรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จลุล่วง

3.6 หลักความคุ้มค่า 1) เจ้าหน้าที่ควรให้ความสาคัญในเรื่องรักษาความปลอดภัยของ ประชาชน 2) เจ้าหน้าที่ควรมีงานดำเนินงานตามหลักความคุ้มค่าเสมอและมองทุกเรื่องทุกกิจกรรมเป็นเรื่องสำคัญ

 

The Administrators’ Administration Following Governance in View of Teachers under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 3

This study aimed to 1) investigate the state of the administrators’ administration following governance in the opinions of the teachers under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 3, 2) compare the state of the administrators’ administration following governance in the opinions of the teachers, and 3) find out the guidelines in developing the administrators’ administration following governance. A total of 469 respondents including 142 school administrators and 327 teachers, selected by means of the table of Krejcie and Morgan were employed as the sample group of the study. A 5-point rating scale survey questionnaire yielding the reliability of .90 was used in data collection. Percentage, means, standard deviation, t-test, F-test, and LSD comparison were used in data analysis.

The research findings were as follows:

1. The state of the administrators’ administration following governance in the opinions of the teachers under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 3 was found to be at a moderate level.

2. The comparison of the state of the administrators’ administration following governance in the opinions of the teachers under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 3 were found as follows:

2.1 The respondents differing in gender were found not to differently view the overall state of administration of the outcome-oriented budget of the administrators at a significant level.

2.2 Those differing in age were found not to differently view the state of the administrators’ administration following governance in the opinions of the teachers at a significant level.

2.3 Those working in school with different size were found not to differently rate the state of the administrators’ administration following governance in the opinions of the teachers at a significant level.

3. The guidelines in developing the administrators’ administration following governance were obtained as the following.

3.1 Legal Principles : Practical regulations for facilitating the teachers should be established. Monitoring and follow-up should be focused, and the workers should be allowed to participate in regulation establishment.

3.2 Merit Principles : Justice, ethics, and honesty in functioning duties should be implanted in the teachers. School administrators should live their lives as good examples to the followers.

3.3 Transparent Principles : Internal control that meets the standards in work performance should be transparently initiated. A certain internal inspection committee taking care of this matter should also be appointed.

3.4 Participation Principles : The teachers and staff should be allowed to take part in the administration through voicing their opinions. They should be developed in their skills of applying the new regulations.

3.5 Responsibility Principles : The teachers and staff should be responsible for the community and the public and goal achievement-oriented.

3.6 Worth of Practice :The involved people should give importance to the safety of the people coming for services in schools and be aware of worth of practice in their function performance.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)