การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อภิชิต สุภรัมย์
จิณณวัตร ปะโคทัง
อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ในการ ทำงาน และวุฒิการศึกษา และเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ในปีการศึกษา 2555 รวมทั้งสิ้น 207 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาและ แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F–test) และการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุบลราชธานี พบว่า โดยรวมและรายด้านส่วนใหญ่ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน งานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กรหน่วยงาน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง

2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ในการทำงาน และวุฒิการศึกษา

2.1 สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อจำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ พบว่า โดยรวม ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็น ต่อสภาพการบริหารงานวิชาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.2 สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุบลราชธานี เมื่อจำแนกตาม ประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยรวม ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.3 สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุบลราชธานี เมื่อจำแนกตาม วุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวม ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็น ต่อสภาพการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

3.1 ด้านงานหลักสูตร พบว่าประเด็นที่เป็นปัญหา คือ การขาดการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำหลักสูตร แนวทางการพัฒนา คือ ควรสร้างการมีส่วนร่วมในการพิจารณาจัดทาหลักสูตรการเรียนรู้ เกี่ยวกับท้องถิ่นได้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและสภาพชุมชน

3.2 ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ประเด็นที่เป็นปัญหา คือ ขาดการส่งเสริมการเรียน การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสาคัญและวัดผลตามสภาพจริง แนวทางการพัฒนา คือ ควรส่งเสริมให้ครูจัดทำ แผนการเรียนรู้ ตามกลุ่มสาระและหน่วยการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

3.3 ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา พบว่าประเด็นที่เป็นปัญหา คือ ขาดการรวบรวมและเผยแพร่ผลการวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา แนวทางในการพัฒนา คือ การประสานความร่วมมือในการศึกษาวิจัยตลอดจนการเผยแพร่ผลงานการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอน

3.4 ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน พบว่าประเด็นที่เป็นปัญหา คือ ขาดการส่งเสริมให้ครูผู้สอนดำเนินการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียนโดยเน้นการประเมินตาม สภาพจริง แนวทางการพัฒนา คือ ควรวางแผนและกาหนดนโยบายเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลและเทียบ โอนผลการเรียนร่วมกับบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษา

 

Thesis Academic Administration in Basic Education Schools Under Administrative Province Ubon Ratchathani

The objectives of this research were: to study the situation of academic administration of administrators in basic educational schools under Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization, to compare situation of academic administration of administrators in basic educational schools under Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization, as classified by status, work experience and educational qualification and to study problem and guidelines for developing of academic administration of administrators in basic educational schools under Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization. The sample is administrators and teachers in Basic Educational Schools, under Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization, in 2012 school year included 207, selected by Simple Random Sampling. The two research tools used in this study: the first is questionnaire that evaluate the situation of academic administration of administrators in basic educational schools under Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization and the second is interview that the problem and guidelines for developing of academic administration of administrators in basic educational schools under Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization. The statistic using for data analysis, included the Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, F-test One way ANOVA and descriptive Analysis.

The research findings found that:

1. For overall and each aspect on situation of academic administration in Basic Educational Schools, under Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization, found that they were in “High” level. For the aspect of enhancement and support the academic administration for the person, family, working organization, and other institutes providing educational administration, the practice was in “Moderate” level.

2. To compare situation of academic administration of administrators in basic educational schools under Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization, as classified by status, work experience and educational background :

2.1 For overall situation on academic administration of basic educational schools under Ubon Rratchathani Provincial Administrative Organization, as classified by status, according to the opinion of overall administrators and teachers were significantly different at the level of .05.

2.2 For overall situation on academic administration of Basic Educational Schools, under Ubonratchathani Provincial Administrative Organization, as classified by work experience according to the opinion of overall administrators and teachers were significantly different at the level of .05.

2.3 For overall situation on academic administration of Basic Educational Schools, under Ubonratchathani Provincial Administrative Organization, as classified by educational qualification according to the opinion of overall administrators and teachers were significantly different at the level of .05.

3. The problems and guidelines for developing of academic administration of administrators in basic educational schools under Ubon Ratchathani Provincial Administrative Organization :

3.1 The problem of curriculum was the lack of participation of those involved in the curriculum. Development approach was to build participation in the curriculum to learn and appropriate the local context of the schools and communities.

3.2 The problem of management teaching was the lack of emphasis on the support of child center technique and authentic assessment. The development of the plan should encourage teachers to learn the teaching plan that each group and unit and the focus on student learning is important.

3.3 The problem of research to develop the quality of education in schools was the lack of collection and dissemination of research results to the development of quality education. The development is to collaborate in the research study as well as the dissemination of research to develop the quality of teaching and learning.

3.4 The problem of measurement, evaluation and achievement transfer learning was the lack of support for teachers to operate measurement, evaluation and achievement transfer learning by authentic assessment. The development of the plan should plan and enforce the policies about measurement, evaluation and achievement transfer learning with all staff in the school.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)