ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดยโสธร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร

Main Article Content

วิมาน ภูนาสูง
จิณณวัตร ปะโคทัง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสนามกีฬา จังหวัดยโสธร ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ สนามกีฬาจังหวัดยโสธร ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง อายุ และวุฒิการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดยโสธร สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นข้าราชการและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ใน องค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร จำนวน 110 คน และประชาชนทั่วไป จานวน 290 คน รวมทั้งสิ้น 400 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จานวน 46 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบค่า F และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดยโสธร สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดยโสธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดยโสธร สังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดยโสธร จำแนกตามเพศและตาแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 ส่วน การจำแนกตามอายุ และวุฒิการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .01

3. ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดยโสธร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร

3.1 ด้านสถานที่ ปัญหาการบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดยโสธร สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดยโสธรนั้น พบว่า ผู้มาใช้บริการเห็นว่าห้องพยาบาลมีขนาดแคบและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้มาใช้บริการ แนวทางพัฒนาทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรควรขยายห้องพยาบาล เพื่อรองรับผู้มาใช้บริการ จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออานวยและควรมีเจ้าหน้าที่อยู่ประจำที่ห้องพยาบาล ตลอดเวลา และนอกจากนั้นผู้มาใช้บริการยังเห็นว่า แผนที่หรือแผนผังแสดงตาแหน่งที่ตั้งต่างๆ มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และไม่มีความแข็งแรงมั่นคง ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรควรทำป้าย แผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้งหรือบริเวณต่างๆ ของสนามกีฬาจังหวัดยโสธรให้ได้มาตรฐานแบบถาวร มีความแข็งแรง และมั่นคง

3.2 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ปัญหาการบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดยโสธร สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรนั้น พบว่า ผู้มาใช้บริการเห็นว่าจำนวนร้านขายอาหารและเครื่องดื่มมีไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ แนวทางพัฒนาทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรควรเพิ่มจำนวนร้านขายอาหารและเครื่องดื่มตามจุดต่างๆ ควรจัดระเบียบร้านค้าให้เป็นโซนอาหาร เพื่อให้ผู้มาใช้บริการสามารถใช้บริการได้ อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว และนอกจากนั้นผู้มาใช้บริการยังเห็นว่า จำนวนห้องน้ำมีไม่เพียงพอ ทางองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดยโสธรควรเพิ่มจำนวนห้องน้ำให้เพียงพอต่อการใช้บริการ

3.3 ด้านการบริการปัญหาการบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดยโสธร สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดยโสธรนั้น พบว่าผู้มาใช้บริการเห็นว่าตู้เก็บของสำหรับผู้มาใช้บริการมีไม่เพียงพอ แนวทางพัฒนา ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรควรจัดหาตู้เก็บของไว้บริการอย่างเพียงพอและให้มีความแข็งแรงเพื่อ สร้างมั่นใจในความปลอดภัยของทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการด้วย

3.4 ด้านความปลอดภัย ปัญหาการบริหารจัดการสนามกีฬาจังหวัดยโสธร สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรนั้น พบว่าผู้มาใช้บริการเห็นว่าอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยในบริเวณอาคารต่างๆ ไม่มีความปลอดภัย แนวทางพัฒนาทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธรควรควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวความปลอดภัยให้เพียงพอ และประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ตรวจตราในช่วงเวลาที่ ประชาชนมาเล่นกีฬาออกกำลังกายด้วย

 

Satisfaction Towards the Management of Yasothorn Provincial Stadium Service Under the Operation of Administrative Organization Yasothorn Province

The research study aims to investigate the issues as follows ;1) to investigate the satisfaction toward the Yasothon stadium management, as being under the authority of the Provincial Administrative Organization (PAO), Yasothon province, Thailand, 2) to compare the levels of satisfaction toward the stadium management through the following dimensions; positions, ages, educational degrees and 3) to investigate the problems as well as the development of Yasothon stadium management by the PAO, Yasothon province, Thailand

The population as being investigated in this study are the government officers and the general officers working in the Provincial Administrative Organization, Yasothon province; 100 persons including the anonymous; 290 persons, totally 400 persons through the sample random sampling method. Additionally, the research instruments are the five-scale questionnaire covering forty six questions. Further, the data was analyzed through the percentage, the mean, the standard deviation, t-test, and F-test.

The research study resulted as following issues;

1. The holistic view of satisfaction toward the Yasothon Stadium Management under the authority of Yosothon PAO is at the high degree of satisfaction.

2. The comparison of the satisfaction toward the aforementioned issue, being classified thorough out the genders, positions, is different at the degree of .05, and at the degree of .01 for the classification through the ages and educational degrees.

3. Problems and suggestions for the development of Yasothon Stadium Management under the authority of the provincial administrative organization (PAO), Yasothon province.

3.1 Place According to the study, it shows that the medical room is considerably small, compared to the number of clients, and the room has the ineffective air ventilation. The development regarding to this issue is to; 1) to expand the area of the medical room, 2) to design the surrounded area with comfortable atmosphere, 3) to assign the medical officer stationing at the medical room and 4) to set the suffient numbers of direction posts in the stadium.

3.2 Facilities The research results that there are insufficient numbers of restaurant in the stadium. it is suggested that the Yasothon PAO should increase the number of restaurants along with the restroom.

3.3 Services The research found that there are insufficient lockers for the clients, the Yasothon PAO should increase the number of lockers with high standard.

3.4 Safety According to the safety, it can be seen that the fire protection devices are not available for use. As a result of this, it is suggested that the Yasothon PAO should pay attention to promptly install the devices in the appropriate area and to set the stadium officers to serve clients during the service times.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)