รูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันของโรงเรียนห้องแซงวิทยาคม

Main Article Content

ศักดา พันธุ์เพ็ง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันของโรงเรียนห้องแซงวิทยาคม 2) นำเสนอ รูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานโรงเรียน ต้นแบบโรงเรียนในฝันของโรงเรียนห้องแซงวิทยาคม และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันของโรงเรียน ห้องแซงวิทยาคม

วิธีดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษากฎหมายการศึกษา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของประเทศไทย แผนแม่บทเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของประเทศไทย มาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการ ตำรา และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพื่อกำหนดตัวแปรที่เป็น องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันของโรงเรียนห้องแซงวิทยาคม และสร้างเครื่องมือการวิจัย 2) เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมสนทนากลุ่ม ศึกษา ดูงาน และกำหนดองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย แล้วประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยผู้เชี่ยวชาญ 12 คน 3) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันของโรงเรียน ห้องแซงวิทยาคม แล้วประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 15 คน และ 4) ประเมินรูปแบบโดยประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 คนเพื่อวิพากษ์และ ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน โรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันของโรงเรียนห้องแซงวิทยาคม

ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน หัวหน้าฝุายวิชาการ 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้ 8 คน ครูประจำวิชาคอมพิวเตอร์ 1 คน ครูผู้รับผิดชอบงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1 คน ตัวแทนนักเรียน 12 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 12 คน ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน และตัวแทนชุมชนท้องถิ่น 13 คน รวม 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ เชิงลึก แบบสอบถาม และคำถามการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. โรงเรียนห้องแซงวิทยาคม มีการบริหารจัดการโรงเรียนตามแผนหลักโครงการ “หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน” กรอบของแผนที่กลยุทธ์ แนวคิดหลักการบริหารระบบ CEO และแนวคิดการบริหารมุ่ง ผลสัมฤทธิ์ อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{X} = 4.73)

2. โรงเรียนแบ่งลักษณะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT (Information and Communication Technology) ออกเป็น 3 งานหลัก คือ 1) ICT เพื่อการเรียนการสอน 2) ICT เพื่อ การบริหารจัดการ และ 3) ICT เพื่อการบริการ มีองค์ประกอบหลักของรูปแบบซึ่งประกอบด้วย ก) กลไกของรูปแบบ : โดยโรงเรียนกำหนดภาระงาน บทบาทและหน้าที่ตามขอบข่ายการบริหารจัดการโรงเรียน ดังนี้ 1) กำหนด ยุทธศาสตร์การดำเนินงานตามแผนหลักโครงการ “หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน” กรอบของแผนที่กลยุทธ์ แนวคิดหลักการบริหารระบบ CEO และแนวคิดการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) กำหนดและแต่งตั้งคณะกรรมการ รับผิดชอบงานต่าง ๆ บทบาทและหน้าที่ 3) กำหนดรูปแบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล และ 4) สนับสนุน งบประมาณและทรัพยากร ข) การดำเนินงาน : โรงเรียนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ใน งานบริหารจัดการโรงเรียน งานจัดการเรียนการสอน และงานบริการ ตามองค์ประกอบหลักของรูปแบบฯ ทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) ด้านการพัฒนาบุคลากร

3) ด้านแนวทางการจัดการเรียนการสอน/การจัดกระบวนการเรียนรู้ 4) ด้านการจัดหา/จัดทำทรัพยากรการเรียนรู้ 5) ด้านการบริหารจัดการภายในโรงเรียน และ 6) ด้านการสร้างความร่วมมือ ประสานงานกับเครือข่ายภายนอก 3. ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ภาพรวมของรูปแบบการบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันของ โรงเรียนห้องแซงวิทยาคม มีความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า รูปแบบฯ มีความสอดคล้องกับแผนที่กลยุทธ์ แนวคิดหลักการบริหารระบบ CEO และแนวคิดการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนห้อง แซงวิทยาคม ซึ่งสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นควรนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตน และให้ข้อเสนอแนะ เพิ่มเติมว่า โรงเรียนควรประเมินสมรรถนะผู้เรียนด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแสวงหา ความรู้ด้วยตนเอง

 

The Model of Information and Communication Technology Administration as the Tool in Managing the Prototype Lab School of HongsaengWitthayakhom School

The purposes of this research were 1) to investigate the state of information and communication technology utilization as the tool in managing the prototype lab school of Hongsaeng Witthayakhom School, 2) to propose the model of information and communication technology administration as a tool in managing the prototype lab school of Hongsaeng Witthayakhom School, and 3) to evaluate the model of information and communication technology administration as the tool in managing the prototype lab school of Hongsaeng Witthayakhom School.

The research was conducted in 4 different steps : 1) studying the educational laws, the 10th national economic and social development plan, the educational technology information policies of Thailand, the master plan of information and communication technology for education of Thailand, the standards of information and communication technology development for education of the Ministry of Education, the texts and the related literatures in order to determine the variables for the factors of the model of information and communication technology administration as the tool in managing the prototype lab school of Hongsaeng Witthayakhom School and in order to construct the research instruments, 2) gathering the data by conducting an in-depth interview, a focus group discussion, and a study tour and determining the main and sub factors as well as evaluating the model for the propriety and the feasibility by 12 specialists, 3) constructing the model of information and communication technology administration as the tool in managing the prototype lab school of Hongsaeng Witthayakhom School as well as evaluating the propriety, feasibility and utility of the model by 15 specialists, and 4) evaluating the model by conducting a focus group discussion using 18 experts to discuss and evaluate the model of information and communication technology administration as the tool in managing the prototype lab school of Hongsaeng Witthayakhom School.

The key informants included 1 school administrator, 1 head of the academic affairs, 8 heads of the curriculum learning areas, 1 teacher in charge of computer education, 1 teacher in charge of information and communication technology, 12 student representatives, 12 parent representatives, 9 representatives from the basic education school committee and 13 local community representatives, totally 58 people. The instruments used for data gathering included in-depth interview forms, a questionnaire, and questions for the focus group discussion. The statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The research findings were as follows:

1. Hongsaeng Witthayakhom School was administrated in accordance with the master plan of “one district, one lab school”, the scope of strategic maps, the CEO systematic administrative principle concept , and the achievement-concentrated administrative concept at the highest level ( \bar{X} = 4.73)

2. The school divided the utilization of information and communication technology or ICT into 3 main tasks : 1) ICT for teaching and learning, 2) ICT for administration, and 3) ICT for services. There were model main factors including A) the model mechanism, which the school determined the tasks, roles and functions in accordance with the scope of school administration such as 1) determining operational strategies in accordance with the master plan of “one district, one lab school”, the scope of strategic maps, the CEO systematic administrative principle concept, and the achievement-concentrated administrative concept, 2) determining and appointing the committees in charge of various tasks with roles and functions, 3) determining the model for supervision, following-up and evaluation, and 4) providing budgetary and resource supports, B) the model operation, which the school utilized information and communication technology in the school administration, teaching and learning management, and services in accordance with the main factors of the model covering 6 areas such as 1) information and communication technology infrastructure, 2) personnel development, 3) teaching and learning management guidelines as well as learning process, 4) securing and producing learning resources, 5) school internal administrative affairs, and 6) creation of cooperation and external network coordination.

3. The result of the model evaluation by the experts was found that the overall of the model of information and communication technology administration as the tool in managing the prototype lab school of Hongsaeng Witthayakhom School had the propriety, utility and feasibility at the highest level and it was found by the experts that the model was consistent with the strategic maps, the CEO systematic administrative principle concept and the achievement-concentrated administrative concept. Moreover, the model was so useful for the development of the educational quality in Hongsaeng Witthayakhom School that other basic education schools should apply this model appropriately to their own contexts. Additionally, it was suggested that the schools should evaluate the student competence on the utilization of information and communication technology for their self-studies.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)