ระบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ไตรรัตน์ โคสะสุ
สมาน อัศวภูมิ
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการประเมินคุณภาพภายใน สถานศึกษา 2) เพื่อออกแบบระบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและ 3) เพื่อตรวจสอบและประเมินระบบและ วิธีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 52 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการประเมินและปรับปรุงรูปแบบ 17 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ 21 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันและปัญหาพบว่าสภาพการดำเนินการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประเด็นที่มีปัญหาคือ ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อย่างต่อเนื่อง 

2. ระบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ระบบการประเมิน และวิธีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา สำหรับระบบการประเมินนั้น แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับเครือข่ายสถานศึกษา และระดับสถานศึกษา ส่วนวิธีการประเมิน คุณภาพภายในทั้ง 3 ระดับนั้น เป็นการประเมินกระบวนการประกันคุณภาพภายในทั้ง 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย แนวการประเมิน 1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษา 2) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา 3) การจัดระบบ บริหารและสารสนเทศ 4) การดำเนินงานตามแผน 5) การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 6) การประเมิน คุณภาพภายใน 7) การจัดทำรายงานประจำปี และ 8) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

3. ผลการประเมินระบบและวิธีการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าทั้ง ระบบและวิธีการ โดยภาพรวมและรายด้าน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก

 

The School Internal Quality Evaluation System and Methods of the Office of the Primary Education Area Under the Jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission 

The objectives of the research were (1) to study the current states and problems of the internal quality evaluation, (2) to design the school internal quality system and methods of the Office of the Primary Education area under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission, and (3) to evaluate the system and methods. The samples consisted of 52 school administrators under the Office of the Primary Education Area, 17 experts in the evaluation and improvement process, and 21 experts responsible for evaluation of the final stage of the model. The research instruments were the questionnaire and interviews. Data were analyzed by using frequency, mean, standard deviation and content analysis.

The research findings were as follows :

 

1. The current states and problems revealed that the internal quality evaluation were perceived as higher level of operation. The aspects that had been done less than others were an educational development plan, a plan-making process, and a continual educational quality development.

2. The school internal quality evaluation system and methods of the educational area consisted of two main components, namely the levels of evaluation and school internal quality evaluation guidelines. The levels of evaluation divided into three levels: Educational Area Level, School Network Level, and School Level. The school internal quality evaluation guidelines consisted of 8 steps as follow: the guidelines on (1) Educational Standard Setting, (2) Development Plans on Education, (3) Designing Administration and Information Systems, (4) Plan Implementation, (5) Educational Quality Monitoring, (6) Internal Quality Evaluation, (7) Annual Report Writing, and (8) Continuous Quality Development. 

3. The Evaluation of suitability, possibility and utility of the internal quality evaluation system and methods, as a whole and in individual aspects were perceive as higher level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)