การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

มณีรัตน์ อภิวัฒนวรรณ
ญญธร ศรีวิเชียร

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และ 3) พัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำหรับ สถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษา องค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝุายวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำหรับ สถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ คะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวัดและประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การส่งเสริมและ การพัฒนาครู การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการส่งเสริมสื่อและแหล่งเรียนรู้

2. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ การส่งเสริมสื่อและแหล่งเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ การวัดและการประเมินผล สภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ย จากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การส่งเสริมและการพัฒนาครู และการวัดและ การประเมินผล 

3. แนวทางการบริหารงานวิชาการ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 1) ด้านการส่งเสริมและการพัฒนาครู จัดอบรมและส่งครูเข้ารับ การอบรม จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง จัดครูเข้าสอนให้เหมาะสม นิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และนำผลการนิเทศไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไข 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดทำหลักสูตร แผนการเรียนรู้ และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และหลากหลาย ฝึกทักษะกระบวนการคิด การแก้ไขปัญหา ปลูกฝ๎งคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3) ด้านการวัดและการประเมินผล กำหนด ระเบียบ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผล และประเมินผลใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย ตรวจสอบเครื่องมือวัดผลและประเมินผลให้มี คุณภาพ วัดและประเมินผลตามสภาพจริง กำกับ ติดตามการวัดและประเมินผล นำผลการวัดและประเมินผลไปใช้

 

The Guideline Development of Academic Administration in Learning Process Development for School in Mahasarakham Province Administration Organization

The research aimed to : 1) investigate the complement and administration indicators ; 2) study the state and desirable state and 3) develop management guideline of academic administration in learning process development for school in Mahasarakham Province Administration Organization. The research was conducted associated with three phases. The first phase was to investigate the components and indicators of academic administration of learning process development. There were five respondents to provide the information by an assessment form. In the second phase, we studied current situation and desirable situation of academic administration in terms of learning process development for the schools. Groups of the study were 214 which sampled from education executives and teachers. The third phase was conducted to find a guideline for academic administration in learning process development for the schools. In this phase, nine respondents were interviewed, sampled from education executives, school officers, and teachers. Descriptive statistics used in this research were mainly percentage, average, and standard deviation.

The research findings were as follows :

1. Components and indicators of academic administration of learning process development for the schools, overall, a reasonable satisfactory was at level in the most. The sort was averaged descending three consecutive priorities including 1) measurement and evaluation, 2) learning activities, 3) teacher Promotion and development, 4) participation in learning activities and extension and development of materials and learning resources.

2. The current status of academic administration in learning process development for school in Mahasarakham Province Administration Organization. All in all, the satisfaction was moderate level. The sort was averaged descending three consecutive priorities including the promotion and development of media and resources, participation in learning activities and measurement and evaluation, respectively. Overall, the satisfaction level at the most, On the other hand if focus on the different aspects found that the most level. The sort of three significant priorities were provision learning activities, teacher promotion and development and measurement and evaluation. 

3. The guideline development of academic administration in Learning Process Development for School in Mahasarakham Province Administration Organization are : teacher promotion and development with; regular training teacher and encouraging teachers to learn by focusing on learners, encouraging teachers to do research consistently, considering teachers for teaching may relate with their qualification of ability and major fields, assessors to evaluate learning activities and conducting supervisor’s comments to improve their skills. learning activities; preparation both of school curriculum and local courses and the course should be continual improvement, preparation of lesson plans and instructional model and it should be continuously ameliorated, evaluation individual learners, creation learning activities which were significantly focusing on learners, organized varieties of learning, construction learning activities which should support of thinking process and the way to solve problems and constitution learning activities which were aid to nurture moral, ethical and desirable characteristics. Measurement and evaluation ; determination of practical regulation on educational measurement and evaluation, utilization various ways of assessment and evaluation, inspection tools to examine and evaluate the standard quality, measurement and evaluation with the real situation, monitoring on measurement and evaluation and comments application either from measurement and evaluation process to improve potential learning activities.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)