การเปรียบเทียบความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาไทย และการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานและการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ

Main Article Content

วันวิสาข์ อกอุ่น
อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานและ การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษา ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานและการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ วิชา ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาไทย และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานและการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลจันทรัตน์ อำเภอสหัสขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์เขต 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 52 คน จากห้องเรียน 2 ห้อง ๆ ละ 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และจับสลาก กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 เพื่อจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน และการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานและแผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือ รูปแบบละ 20 แผน ๆ ละ 1 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน ภาษาไทย ชนิดอ่านคำ จำนวน 15 ข้อ และอ่านประโยค จำนวน 5 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .33 – .61 และมีค่าความเชื่อมั่นในการให้คะแนนรายข้อของการอ่านประโยค จำนวน 5 ประโยค (rxy) ตั้งแต่ .37 – .72 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาไทย ประกอบด้วย การเขียนคำ จำนวน 10 ข้อ เขียนประโยค จำนวน 5 ข้อ และเขียนบรรยายภาพ จำนวน 5 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) อยู่ระหว่าง .33-.61 แบบทดสอบการเขียนประโยคมีค่าความเชื่อมั่นการให้คะแนน (rxy) อยู่ระหว่าง .35-.63 และการเขียนบรรยาย ภาพมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่า .37-.62 4) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ .33 ถึง .67 และค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .31 ถึง .73 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ .76 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ สมมุติฐานโดยใช้สถิติ F-test (One -way MANOVA) ผลวิจัยปรากฏดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตาม แนวคิดสมองเป็นฐานและการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือมีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.77/76.24 และ 72.95/76.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน และการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ มีค่าเท่ากับ .5374 และ .5369 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็น ร้อยละ 53.74 และ 53.69 ตามลำดับ และ 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมอง เป็นฐานและจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือมีความสามารถในการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ไม่แตกต่างกัน

 

Comparisons of Abilities in Reading, Writing for Thai Language and Analytical Thinking of Prathomsuksa 1 Students Between Who Learned Using Brain-Based Learning and Cooperative Learning Approaches

The purposes of this study were: 1) to develop plans for learning management based on Brain-Based Learning and cooperative Learning approaches in Thai Language of Prathomsuksa 1 level with the required efficiency of 75/75, 2) to find out effectiveness indices of those two plans for learning management, 3) to compare reading, writing abilities and analytical thinking between the students who learned based on those two different approaches. The sample used in this study consisted of 52 students from two classes of Prathomsuksa 1 level, attending from Jantharat Kindergarten school, Sahatsakhant District, under the Office of Kalasin Primary Educational Service Area Zone 1, in the academic year of 2014, which obtained using the cluster random sampling technique and random assigned for 26 students in each group using Brain-Based Learning approach and cooperative learning approach. The instruments used in the study were : 1) lesson plans for two types of learning management activities using Brain-Based Learning approach and cooperative learning approach in Thai language, taken for overall 20 hours with 20 plans in each approach; 2) test of reading ability were composed of 15-items for words reading, and 5-items for sentences reading, with the discriminating power of .33 – .61 and a reliability of scoring in reading assessment for 5 item test of .37 – .72 3) test of writing abilities were composed of 10 - items test for words writing, with discriminating power ranging .33-.61, 5-items test for sentences writing with a reliability of scoring assessing between .35-.63, and 5-items test for picture narrative writing, with a reliability of scoring assessing between .37-.62, and 4) a 20-items test of analytical thinking ability test with the difficulty ranging .33 - .67, the discriminating power ranging .31 - .73, and a reliability of .76. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, and F-test (One-way MANOVA) was employed for testing the hypothesis. The results of the study were as follows : 1) The learning management plans using Brain-Based Learning approach and cooperative learning approach in Thai language for Prathomsuksa 1 level had efficiencies of 75.77/76.24 and 72.95/76.11 respectively. 2) The learning management plans using Brain- Based Learning approach and cooperative learning approach in Thai language for Prathomsuksa 1 level had the effectiveness indices of .5374 and .5369 respectively. Thus showed that the students who learned based on those of two approaches, had learning progress of 53.74 and 53.69 percents respectively. and 3) The students who learned using Brain-Based Learning and cooperative learning approaches in Thai language for Prathomsuksa 1 level, did not show difference of abilities in reading, writing for Thai language and analytical thinking.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)