พฤติกรรมผู้นำมืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

Main Article Content

สังคม กุลสุวรรณ
อารี หลวงนา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำมืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นำมืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะพฤติกรรมผู้นำมืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาที่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน จำนวน 81 โรงเรียน จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 66 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาพฤติกรรมผู้นำมืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นำมืออาชีพ จำแนกตาม ตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ข้อเสนอแนะพฤติกรรมผู้นำมืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ปรากฏดังนี้

3.1 การเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหารต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต บริหารงานด้วยความโปร่งใส และควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาและบุคคลทั่วไป

3.2. การเป็นผู้นำการจัดระบบ ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดระบบ ควรมีความรู้ความสามารถในการจัดระบบ การวางแผน การวินิจฉัยสั่งงานมีการวางแผนกลยุทธ์ และนำสารสนเทศมาใช้ในการจัดระบบ

3.3 การเป็นผู้นำด้านวิชาการ ผู้บริหารควรมีความรู้ในเรื่องนโยบายการศึกษาชาติจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การจัดทำหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลการจบหลักสูตรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ใช้เทคโนโลยีมาจัดการศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้พัฒนาตนเองและจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ

3.4 การเป็นผู้นำด้านบริหารจัดการ ผู้บริหารต้องกล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการให้เข้ากับยุคสมัย ใช้การบริหารงานแบบการมีส่วนร่วม มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและมีการกระจายอำนาจในการบริหารงาน

3.5 การเป็นผู้นำด้านสังคมและชุมชน ผู้บริหารควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความเป็นกันเองไม่ถือตัว สามารถเข้ากับชุมชนได้เป็นอย่างดี และประสานงานกับชุมชน เพื่อนำชุมชนมามีส่วนร่วมในการพัฒนาหน่วยงาน

3.6 ด้านการเป็นผู้นำการพัฒนาตนเองในเชิงบริหาร ผู้บริหารควรมีการอบรม ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ อยู่เสมอ ศึกษาดูงานและนำมาปรับใช้ในการการพัฒนางานมีวิสัยทัศน์ในการบริหาร มองการณ์ไกล มีการบูรณาการปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหาร เป็นผู้นำในการพัฒนาตนเอง เพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์อยู่ตลอดเวลา

 

The Opinion of the School Administrators and the Teachers Concerning a Professional Leader’s Behavior under the Secondary Educational Service Area 29

The objectives of the research were to study and compare the opinion of the school administrators and the teachers concerning a professional leader’s behavior under the Secondary Educational Service Area 29 as classified by positions and working experiences and school sizes and to study the recommendations on the leader’s behavior as perceived by the school administrators and the teachers under the Secondary Educational Service Area 29. The samples used in the research were 351 school administrators and teachers teaching in 81 school under the Secondary Educational Service Area 29, derived by a stratified random sampling. The research instrument was a five rating scale questionnaire of 66 items with a confidence value equivalent to .99. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.

The research findings were as follows:

1. The results of a study of a professional leader’s behavior as perceived by the school administrators and the teachers were at a high level.

2. The results of a comparison of a behavior of a leader as classified by positions were not different. The results as classified by the working experiences and the school sizes were different with a statistical significance of .05.

3. The following were the recommendations on the professional leader’s behavior.

3.1 The leader has to be virtuous, ethical, honest and transparent. He or she should be a good role model for the subordinates and people in general.

3.2 The leader has to be far-sighted, able to use modern technology in organizing the system, planning, making a strategy and systematizing information.

3.3 The leader should be well learned in the national educational policy, the curricula, the objectives, the learning activities, measurement and evaluation, application of educational technology and support for the teachers.

3.4 The leader has to be decisive to change the management system and coordinate with the community to engage the community members in the development.

3.5 The leader must have a good human relation, be humble and polite, able to work with the community.

3.6 The leader has to have a regular training and additional learning from different sources. The leader has to be far-sighted and integrate himself with the surrounding situations and make himself capable of learning new things.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)