การมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาของชุมชน กรณีศึกษา : โรงเรียนบ้านเหมือดขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1

Main Article Content

กนกอร บุญกว้าง
จิณณวัตร ปะโคทัง

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนบ้านเหมือดขาวอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และศึกษาเงื่อนไขการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร 1 คน ผู้ปกครองนักเรียน 16 คน นักเรียน 6 คน คณะครู9 คน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน รวม 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ซึ่งแบ่งเป็น 4 ชุด คือ ชุดที่ 1 สำหรับผู้บริหาร ชุดที่ 2 สำหรับผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดที่ 3 สำหรับคณะครูชุดที่ 4 สำหรับนักเรียน การวิเคราะห์ทางสถิติโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมการจัดการศึกษาของชุมชน ของโรงเรียนบ้านเหมือดขาว มี 6 แนวทาง คือ 1) การมีส่วนร่วมในการระดมความคิดพบว่า โรงเรียนกับชุมชนการร่วมคิดค้นและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันในลักษณะของการร่วมคิด บนพื้นฐานความศรัทธาว่า ทุกคนที่เข้ามามีส่วนร่วมนั้นมีศักยภาพในการพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน 2) การมีส่วนร่วมในการร่วมวางแผน พบว่า โรงเรียนกับชุมชนนำสิ่งที่ร่วมกันคิดมากำหนดเป็นแผนร่วมกันด้วยการระดมทรัพยากรจากทุกฝ่าย 3) การมีส่วนร่วมในการร่วมกันลงมือทำ พบว่าโรงเรียนกับชุมชนนำแผนงานที่ได้แบ่งงานกันรับผิดชอบ เพื่อให้เป็นไปตามแผนหรือเป้าหมายที่ร่วมกันวางไว้ 4) การมีส่วนร่วมในการการร่วมกันติดตามและประเมินผล พบว่า โรงเรียนกับชุมชนร่วมกันติดตามผลงานที่ทำหลังจากดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว เพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน 5) การมีส่วนร่วมในการร่วมกันปรับปรุงแก้ไข พบว่าเมื่อมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นโรงเรียนและชุมชนจะใช้โอกาสในการประชุมผู้ปกครองนักเรียนเพื่อพูดคุยกันถึงปัญหา รวมถึงช่วยกันหาแนวทางแก้ไข 6) การมีส่วนร่วมในการร่วมกันรับผลประโยชน์ร่วมกันและชื่นชมยินดี พบว่า ส่วนมากเป็นผลประโยชน์ทางด้านจิตใจ มากกว่าจะเป็นผลตอบแทนทางด้านวัตถุสิ่งของจากโรงเรียนและชุมชน 2. เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เงื่อนไขการมีส่วนร่วมมากในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชนช่วยเหลือ การมีการรวมกลุ่มกันเองในชุมชนหลายกลุ่ม กลุ่มเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนและสนับสนุนอย่างจริง คณะครูมีความสามัคคีและร่วมกันพัฒนาอย่างจริงจัง ผู้บริหารเป็นที่ยอมรับของคณะครูและชุมชน 2) เงื่อนไขการมีส่วนร่วมน้อยในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ คนในชุมชนขาดความรู้เรื่องการดำเนินงานของโรงเรียน เงื่อนไขเกี่ยวกับระเบียบราชการที่พบว่า ค่อนข้างจะล่าช้า

 

Participation of community education. Case Study: Ban Muadkhaw School Primary Education Area Office, Area 1 Yasothon

This research aims to study the involvement of the community in education Muadkhaw Maha Chana Chai District of Yasothon and education conditions of community participation in basic education. Targets used in this study, 42 administrators 16 Parents, 6 students, 9 teachers, 1 people leading local government, and director of basic education in nine subjects used in research. interview. Statistical analysis by analyzing the results of the study found that Participation of community education has six guidelines. 1 participation in mobilizing community participation was found that the school's research and analysis of common problems in the form of complicity. Based on the belief that Everyone who took part had the potential to develop school together. 2. Participation in joint planning. Found that the school community came together to put something together with a plan to mobilize resources from third parties. 3. Participating in the joint action. The school with the community to plan the division of responsibility. To plan or goal to put together. 4. Participation in joint monitoring and evaluation. The school community works together to make the various activities in order to improve the shortcomings and seek solutions together. 5. Participation in the. Joint revision. Found that when a problem occurs and the school community to take the opportunity of meeting the parents to discuss the problem. To help find solutions. 6. Participation in the joint benefit sharing and the joy found that many psychological benefits. Rather than return the object from the school and community. For the participation of the community in the provision of basic education. The results showed that: 1. Condition of participation in the provision of basic education, including local government leaders and community leaders help. The bundles themselves in several community groups. Group network and support real parents. Faculty harmony and mutual development seriously. Management is recognized by teachers and community 2. Conditions are less involved in the provision of basic education in the community, including lack of knowledge about the operation of the school. Conditions relating to government regulation was found to be somewhat delayed.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)