สภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
Abstract
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมพบว่า มีสภาพอยู่ในระดับ มาก
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครู ในสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามประสบการณ์ จำแนกตามตำแหน่ง พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุบลราชธานี จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง สรุปได้ดังนี้ ด้านการบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการประเมินการใช้หลักสูตรเพื่อนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และจัดให้มีการนิเทศภายใน โดยส่งเสริมให้ครูในสถานศึกษานิเทศซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ ด้านการบริหารงานงบประมาณ สถานศึกษาควรมีการรายงานผลการดำเนินการตรวจสอบ ติดตามผลการใช้งบประมาณต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและควรมีการประเมินแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสถานศึกษาด้านการบริหารงานบุคลากร ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากรหลังจากที่ได้รับการพัฒนาและควรมีความยุติธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ ให้บุคลากรในสถานศึกษา ด้านการบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับ เป้าหมายและทิศทางของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สนองความต้องการของชุมชน และผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีการวางแผน จัดระบบการดำเนินงานของกลุ่มงานต่าง ๆ รวมทั้งงานสารบรรณอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นปัจจุบัน
Administrative States of the School Administrators under the Office of Non-formal and Informal Education in Ubon Ratchathani Province
The research aimed to study the administrative states of the school administrators, to compare the opinion of the teachers as classified by their positions and working experiences and to examine the guidelines to develop an administration of the school administrators as perceived by the teachers under the Office of Non-formal and Informal Education in Ubon Ratchathani. The samples used in the research were 244 teachers obtained by a stratified sampling. The target group interviewed were 20 teachers purposely chosen. The research instrument were used in a data collection was a five rating scale questionnaire of 60 items with a total confidence value equivalent to .98. Statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.
The research findings were as follows:
1. The administrative states of the school administrators as perceived by the teachers in the study were found to be at a high degree.
2. In comparing the teachers’ opinion towards the administrative states according to their positions and experiences, it was found that an overall opinion was not different.
3. The following were the guidelines for the administration for the school administrators. As regards the academic affairs, the school administrators should evaluate a curriculum to improve a teaching and learning process in all units. There should be an internal supervision, that is, the teachers of a school should supervise one another. As for a budget administration, a report on operation and follow-up of the budget spending should be made. A strategic and operation plan should be evaluated. Given the personnel administration, the school administrators should supervise the performance of the personnel and they had to be fair and just to them. Concerning the general administration, the school administrators should have a plan for developing an educational quality in accordance with the targets and directions of the Office of Non-formal and Informal Education and in response to the community demands.