ความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

Main Article Content

วราพร พันธ์โภคา
สุวิมล โพธิ์กลิ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์การทำงานและขนาดของโรงเรียน และเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 450 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยการเทียบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F

ผลการวิจัย พบว่า

1. ข้าราชการครูมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาของข้าราชการครู มีดังนี้

2.1 ข้าราชการครูที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

2.2 ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ในด้านการวางแผนอัตรากำลังครูและการกำหนดตำแหน่งด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและด้านการออกจากราชการ ส่วนด้านวินัยและการรักษาวินัย มีความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับกลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน 10-15 ปี กับผู้มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 15 ปีขึ้นไป

2.3 ข้าราชการครูในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้งและด้านวินัยและการรักษาวินัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนความพึงพอใจด้านการวางแผนอัตรากำลังครูและกำหนดตำแหน่งและด้านการออกจากราชการไม่แตกต่างกัน โดยที่ข้าราชการครูโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่มีความพึงพอใจ แตกต่างกัน ในด้านการสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง ด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการและข้าราชการครูในโรงเรียนแต่ละขนาดทั้งใหญ่ กลาง เล็ก มีความพึงพอใจแตกต่างกัน ในด้านวินัยและการรักษาวินัย

3. สรุปปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา ได้แก่

3.1 สถานศึกษายังไม่มีการกำหนดอัตรากำลังให้ตรงตามความต้องการและควรสรรหาบรรจุแต่งตั้งให้ตรงตามความต้องการของวิชาเอกที่ขาดแคลนด้วยความยุติธรรม โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

3.2 สถานศึกษายังไม่มีการพัฒนาข้าราชการครูให้มีวิทยฐานะที่สูงขึ้นและการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานตามภาระงานที่รับผิดชอบ

4. ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา

4.1 การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจสำหรับครูบุคลากรในสถานศึกษาและสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

4.2 ส่งเสริมให้ข้าราชการครูได้อบรมหาความรู้เพิ่มเติมและพัฒนาตนเอง สร้างแรงจูงใจอย่างต่อเนื่องเพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน

4.3 อบรมแนะนำให้ความรู้เพื่อพัฒนาข้าราชการครูเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบวินัยจรรยาบรรณที่พึงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดรวมทั้งส่งเสริมเพื่อความรู้ทักษะเจตคติที่ดี และมีคุณธรรมจริยธรรม

 

Satisfaction Towards Personnel Administration of the Teachers under The office of Sisaket Primary Educational Service Area 4

The research purpose were to study and compare the satisfaction towards the personnel administration of the teachers under the office of Sisaket Primary Educational Service Area 4, as classified by the positions, working experiences and the school size

The samples used in the research were 450 teachers in the academic year of 2013, and determined by Krejcie and Morgan’s table. They were obtained by a stratified random sampling. The research instrument was a five points rating-scale questionnaire of 50 items, width reliability of 0.92 Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.

The research findings were as follows:

1. The satisfaction on personnel administration of the teachers in the study were at a high level both for as a whole and in each aspect.

2. Regarding the comparison of the satisfaction in each condition, the followings were found:

2.1 The teachers with different positions had not different satisfaction towards the personnel administration.

2.2 The teachers with different working experiences had not different satisfaction towards the personnel administration for the aspects of planning for personnels management and position amnmaement, recruitment and appointment, efficiency improving in performance and retirement However, they had different satisfaction in aspect of discipline and attending at the .05 level of significance, for the groups of The teachers with 10-15 years and those with more than 15 years of working experiences .

2.3 The teachers working in different sized schools had different satisfaction towards the personnel administration for as a whole aspect of enhancing performance efficiencies at the .05 level of significance. whereas for the aspects of recruitment and appointment, discipline and differences at .01 level of significance, which showed difference between medium size and large size school. And for in each size showed difference in aspects of discipline and discipline offending. But the teachers in each size school did not show difference of satisfaction in planning for personnel management and position arrangement.

3. Conclusions on the problems on the problems of personnel administration were ;

3.1 The schools had not provide manpowers suitable with needs and did not take recruit and appointment congruence with essence and scarcity, by transparent and fair management, including capability in verification

3.2 The teachers were not supported to gain a higher academic positions and constructed benchmarks for performance with responsibility.

4. Suggestions for developing of personnel management in schools composed of ;

4.1 The teachers and the personnels should be promoted power of mind, morale, and supported in budgeting for working efficiently.

4.2 The teachers should be entranced in knowledge and self-development continuously for improving their performance.

4.3 The teachers should have training and mentoring to gain knowledge on regulation and discipline for performing intensively, and including to promote skills, knowledge, attitude, ethics and moral in profession.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)